ปัญหาส่วนต่อเติมบ้านทรุดคือปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดปัญหาหนึ่งเนื่องจากบ้านในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือทาวน์โฮม มักนิยมทำการต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นห้องครัว หรือห้องน้ำ โดยสาเหตุมาจากการก่อสร้างที่ผิดหลัก กล่าวคือ ไม่ได้แยกโครงสร้างส่วนต่อเติมตัดขาดจากตัวบ้านเดิม (ก่อสร้างติดกัน) ทำให้ส่วนต่อขยายเกิดการยุบตัวของชั้นดินที่มีมากกว่าบ้านเดิมที่ทรุดจนอิ่มตัวแล้ว นึกภาพง่ายๆเมื่ออาคารหนึ่งทรุดจนอิ่มตัวแล้วกับอาคารใหม่ที่เพิ่งเริ่มทรุด มันก็จะเกิดรอยแยกระหว่างสองส่วนเกิดขึ้นนั่นเอง อีกเหตุผลหนึ่งของการทรุดตัวก็คือการใช้เสาเข็มที่มีความลึกของเสาไม่เพียงพอต่อการรับน้ำหนักโครงสร้าง หรือสภาพของดินที่ทำการต่อเติมมีลักษณะนุ่มกว่า ทั้งหมดนี้เป็นที่มาทำให้เกิดการทรุดตัวของส่วนต่อขยาย เกิดเป็นรอยแยกของผนังบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมขึ้น ซึ่งวิธีแก้ไขสามารถทำอะไรได้บ้างวันนี้ Admin มีคำตอบมาฝาก วิธีป้องกันและแก้ปัญหาส่วนต่อขยายทรุด ปัญหาเรื่องการทรุดตัวของห้องส่วนต่อเติม เกิดจากการไม่ได้วางแผนหรือเตรียมโครงสร้างส่วนต่อขยายอย่างถูกต้อง ไม่ได้วางระบบฐานราก หรือเป็นการต่อเติมบ้านบนดินที่เพิ่งถมได้ไม่นาน ทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้ส่วนต่อเติมใหม่เกิดการทรุดตัวไว ตามมาซึ่งรอยแยกหรือรอยฉีกของผนังบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมปรากฎให้เห็น นอกจากดูไม่สวยงามแล้ว ยังไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย เพราะรอยแยกที่เกิดขึ้นมีโอกาสพังถล่มลงมาได้ รวมไปถึงปัญหาน้ำรั่วซึมผ่านรอยแยก หรือแม้กระทั่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานได้อีกด้วย สำหรับบ้านที่มีแพลนก่อสร้างส่วนขยาย เพื่อเลี่ยงการทรุดตัวให้เลือกใช้วิธีก่อสร้างส่วนต่อเติมโดยการแยกโครงสร้างขาดกับตัวบ้านเดิม เพื่อไม่ให้ฐานรากรับน้ำหนักมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามสำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่ทำการก่อสร้างไปแล้ว และกำลังประสบปัญหารอยแยก รอยฉีกของผนังส่วนต่อเติมไม่ต้องกังวลใจไปครับ เพราะวันนี้ Admin มีผลิตภัณฑ์ซ่อมสร้างที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีง่ายๆนั่นก็คือใช้ พียู โฟม โพลียูรีเทน ชนิดสเปรย์โฟม ใช้งานอเนกประสงค์ นั่นเอง พียู โฟม คืออะไร ? พียู โฟม เป็นโฟมสำเร็จรูปใช้งานอเนกประสงค์ ขยายตัวได้ ใช้อุดรูโพรง ช่องว่าง […]
ซื้อบ้านมาแล้วแต่อยากกั้นห้องเพิ่มต้องทำอย่างไร? ใช้ผนังเบาแบบไหนดี
หนึ่งในทางเลือกที่นิยมนำมาใช้กั้นห้องเพื่อแบ่งพื้นที่เพิ่มเติมคือการเลือกใช้ “ผนังเบา” เพราะมีน้ำหนักเบาไม่ต้องมีคานรองรับ หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน และมีให้เลือกหลากหลายชนิด ตั้งแต่แผ่นยิปซัม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หรือสมาร์ทบอร์ด ถ้าเช่นนั้นเวลาให้ผู้รับเหมาเข้ามาทำต้องตรวจดูงานอะไรบ้าง ถึงจะทำให้คุณได้ผนังกั้นห้องใหม่ที่สวยถูกใจ เพราะหากได้ช่างไม่เก่งพอ คงได้ผนังบ้านที่น่าหนักใจขึ้นมาแทน จนอาจคิดว่าไม่น่ากั้นห้องเลย อย่ากระนั้นเลย admin มีคำแนะนำในการตรวจงานผนังเบาว่ามีขั้นตอนการดูอย่างไรบ้าง โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ครับ เลือกผนังเบาและตรวจของก่อนติดตั้ง การกั้นห้องต้องระบุกับผู้รับเหมาว่าต้องการกั้นห้องเพื่อใช้ทำเป็นห้องอะไร เพื่อเลือกใช้ผนังเบาที่มีชนิดและความหนาที่เหมาะสม ถ้าเป็นการเสริมผนังอีกชั้นเพื่อทำเป็นผนังกันความร้อนก็จะมีฉนวนอยู่ข้างใน หรือ ต้องการห้องที่เก็บเสียงก็ต้องเลือกแผ่นที่มีความหนามากหน่อย และผนังเบาแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและข้อดีต่างกัน อาทิ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์มีข้อดีที่สามารถทนแดดทนฝนได้จึงเหมาะใช้ภายนอก ส่วนแผ่นยิบซัมนั้นน้ำหนักเบา มีราคาถูกกว่า และมีความเรียบเนียนของผิวแผ่นทำให้ฉาบเก็บรอยได้ดี ตรงนี้ก็อยู่ที่ช่างหรือผู้ออกแบบแนะนำว่าควรเลือกใช้แบบไหน ซึ่งก็ควรจะเหมาะสมกับห้องที่เราต้องการ แต่แน่นอนว่ายิ่งหนายิ่งดี … แต่ก็จะยิ่งแพงครับ เมื่อเลือกผนังเบาได้แล้ว เมื่อช่างไปซื้อของมา ก็ต้องตรวจวัสดุที่ช่างนำมาใช้ว่ามีขนาดและความหนาที่ตรงกับที่คุยกันหรือที่สเปคหรือไม่ ตัวอย่างเช่น แผ่นสมาร์ทบอร์ดจะมีขนาดมาตรฐาน 1.20 x 2.40 เมตร มีความหนาตั้งแต่ 4-24 มิลลิเมตร แต่สำหรับงานกั้นผนังในบ้านนิยมใช้ความหนา 4-8 มิลลิเมตร ส่วนผนังนอกบ้านนิยมใช้ความหนา 10-12 มิลลิเมตร เพื่อความแข็งแรงที่มากกว่าผนังในบ้าน ส่วนความหนา […]
วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม
สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไรส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจแล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า“ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง”การ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ) แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร3. โซนใกล้ ภูเขา […]
ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์
ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์ ปัจจุบันการเลือกใช้งานเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยม และมีให้เลือกหลากหลาย เช่น เสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม เสาเข็มรูปตัวไอ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ซึ่งแต่ละประเภทต้องบอกก่อนว่ามีทั้งข้อดี ข้อเสียที่แตกต่าง ก่อนเลือกใช้เพื่อให้ตอบโจทย์ต่องานจึงควรศึกษาอย่างละเอียด ลดความเสี่ยงเกิดปัญหาตามมาได้ ข้อดี – ข้อเสียของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละประเภท ความโดดเด่นของเสาเข็มสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านนั้น “ไมโครไพล์” ได้รับไปแบบเต็ม ๆ ด้วยขนาดที่เล็ก สามารถใช้งานในพื้นที่แคบได้ เสียงตอกเบา แรงสะเทือนน้อยไม่เป็นที่รำคาญของเพื่อนบ้าน เพราะมีการตอกด้วยระบบไฮดรอลิกโดยได้วิศวกรมาคำนวณแล้ว นอกจากนี้ การต่อเสาก็ยังเชื่อด้วยส่วนหัวและท้ายระหว่างท่อ แน่นอนว่าแต่ละประเภทมีทั้งข้อดี ข้อเสีย เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ประเภทแรกนี้จะผลิตต่างจากประเภทอื่น ๆ เพราะมีการใช้แรงเหวี่ยงเพื่ออัดคอนกรีตแข็งหนาแน่น แล้วเกิดเป็นหน้าตัดวงกลม มีรูตรงกลาง มีเหล็กอยู่ภายในเสาเพิ่มความแข็งแรง โดยความยาวของแต่ละท่อนจะอยู่ที่ 1 – 2 เมตร ขึ้นอยู่กับการกำหนดของผู้ผลิต ข้อดี : ด้วยความที่น้ำหนักเบา กดลงไปแล้วเกิดรอยร้าวน้อย เพราะคอนกรีตอัดมาสูง ส่วนหัวหรือท้ายเชื่อมต่อง่าย ศูนย์กลางกำหนดไว้ได้ตามต้องการ ข้อเสีย : ด้วยต้นทุนสูง และการผลิตซับซ้อน จึงมีราคาสูงมาก […]
ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด
ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด เสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างบ้าน ซึ่งปัจจุบันเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยมใช้งาน ทว่าการสร้างบ้านด้วยเสาเข็มประเภทนี้ต้องมีการตอกด้วยความลึกที่เหมาะสม ไม่ทำให้ตัวเสาร้าว หรือเกิดปัญหาบ้านทรุดได้ แล้วความลึกของเสาควรต้องอยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือการศึกษาข้อมูลสร้างความเข้าใจให้ตัวเองอย่างลึกซึ้ง เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่มากดทับได้จากแรงกระทำหลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม หรือ End Bearing ที่จะเกิดขึ้นอยู่ส่วนปลายเข็ม ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นมาจากพื้นดินที่ช่วยรองรับส่วนปลาย ทั้งนี้ แรงจะมีน้ำหนักมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับประเภทของดินที่มีแตกต่างกัน แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็มได้รับ หรือ Skin Friction ที่จะเกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มไมโครไพล์ และดินที่อยู่รอบ ๆ โดยที่ขึ้นอยู่กับผิวดินอีกเช่นกันว่าจะทำให้เกิดแรงขึ้นมามากหรือน้อย รวมถึงลักษณะของเสาแต่ละประเภทด้วย การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ควรมีความลึกที่เท่าไหร่? โดยทั่วไปแล้วการสร้างบ้านจะต้องขึ้นอยู่กับเสาเข็มที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่าง ซึ่งควรต้องมีการตอกที่ลึกจนถึงชั้นดินแข็งเฉลี่ยแล้วประมาณ 21 เมตร เสาเข็มไมโครไพล์สามารถกดลงได้ลึกกว่า 20 เมตร หรือสูงสุดไปถึง 30 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 30 – 50 ตัน เพื่อให้เกิดแรงต้านทั้ง 2 แบบที่กล่าวไป ป้องกันการเกิดบ้านทรุดในอนาคตได้เป็นอย่างดี […]
วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์
วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ เมื่อมีความสนใจอยากต่อเติม หรือสร้างบ้านด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกผู้ใช้บริการที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อให้การติดตั้งดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงไม่เป็นปัญหาในอนาคตที่อาจทำให้ปวดหัว ไม่สบายใจขึ้นมาได้ ดังนั้น จึงไม่อาจมองข้ามการศึกษาถึงวิธีเลือกผู้ให้บริการที่ตอบโจทย์อย่างละเอียด แนะนำการเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ ต้องมีความน่าเชื่อถือ อย่างแรกที่ต้องมองเลยจริง ๆ ก็คือเรื่องของความน่าเชื่อถือ ที่ผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ควรต้องมีอย่างที่สุด แนะนำว่าต้องเป็นแหล่งที่เปิดให้บริการมายาวนาน มีรายละเอียดการจัดตั้งบริษัทชัดเจน สามารถเดินทางไปหาได้เลย หรือมีประวัติการจัดตั้งบริษัทให้เราได้ศึกษาด้วยก็ได้ รวมถึงสินค้าได้รับมาตรฐานความปลอดภัยมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูรีวิวจากผู้เคยใช้งานมาก่อน หรือหากใครที่ยังไม่มั่นใจ จะลองเลือกศึกษาจากรีวิวของผู้อื่นที่เคยใช้งานมาก่อนก็ได้ เพื่อดูว่าผลลัพธ์การติดตั้ง สินค้าต่าง ๆ เป็นอย่างไร เหมาะสมกับที่เราจะเรียกใช้บริการหรือไม่ โดยที่ผู้เคยใช้งานมาก่อนจะแสดงความคิดเห็นที่ตรงไหนตรงมา ซึ่งมีผลต่อผู้ให้บริการอย่างมาก ทั้งนี้ ผู้ให้บริการต้องเต็มใจเปิดเผยรีวิวโดยที่ไม่สามารถลบ หรือแก้ไขข้อความรีวิวด้วย สามารถให้คำแนะนำได้อย่างดี ผู้ให้บริการจำต้องมีความรู้ ความชำนาญ และสามารถให้คำแนะนำที่ดีกับลูกค้าได้ เพราะเสาเข็มไมโครไพล์ยังเป็นอุปกรณ์ก่อสร้างที่ใหม่สำหรับใครหลายคน เพื่อให้ลูกค้าได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม หรือหากลูกค้าคนไหนสับสน ตัดสินใจเลือกไม่ได้ ผู้ให้บริการก็จะเป็นผู้แนะนำ และตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ มีบริการให้เลือกหลากหลาย ด้วยประเภทของเสาเข็มไมโครไพล์มีให้เลือกหลากหลาย เช่น เสาเข็มสปันไมโครไพล์, เสาเข็มรูปตัวไอ หรือเสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม ฯลฯ รวมถึงขนาดที่ก็มีหลากหลายเช่นกัน ทั้งเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม. […]
ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท
ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท เมื่อต้องเลือกใช้งานเสาเข็มเพื่อสร้าง หรือต่อเติมบ้าน ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำแนะนำเลือกใช้ “เสาเข็มไมโครไพล์” ซึ่งต้องยอมรับว่าบางคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้น การได้ศึกษาทำความรู้จักว่าคือเสาเข็มอะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภทจึงไม่อาจมองข้ามได้ เพื่อการพิจารณาเลือกใช้งานที่ตอบโจทย์ เสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร? เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มที่ได้นวัตกรรมทางวิศวกรรมเข้าช่วย อาศัยความแข็งแรงในการสร้างรากฐานให้กับบ้าน ป้องกันการทรุดตัว ซึ่งจะมีการใช้ปั้นจั่นพิเศษตอกเสาเข็มนี้ลงไป สิ่งที่น่าสนใจคือการที่เราสามารถเลือกใช้งานได้กับทุกสภาพพื้นที่ ตอกชิดผนัง หรือกระจกได้ พื้นที่แคบเข้าไปได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหา เสียงเบามาก ไม่จำเป็นต้องขนดินไปทิ้งเพราะดินกระจายออกมาน้อยมาก การผลิตเสาเข็มชนิดนี้จะใช้วิธีหล่อแบบพิเศษที่ทำให้เนื้อคอนกรีตหนาแน่น และสูงกว่าการหล่อแบบธรรมดา รับน้ำหนักได้มากกว่า 10 – 55 ตัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเสาเข็มนี้ด้วย เสาเข็มไมโครไพล์มีให้ใช้งานกี่ประเภท? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มไมโครไพล์จะมีให้ใช้งานด้วยกันหลัก ๆ แล้ว 3 ประเภท ได้แก่ เสาเข็มรูปตัวไอ หรือ I micropile จะเป็นเสาเข็มที่มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ I โดยความยาวจะอยู่ที่ท่อนละ 1.5 เมตร จะมีการเทคอนกรีตลงไปในแบบเพื่อหล่อ แล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีตมาเพิ่มความหนาให้กับเสามีมากขึ้น เสาเข็มเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง หรือ […]
รีโนเวทตึกแถวหน้ากว้าง 6 เมตร สู่ บ้านช่อง สวยสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น
รีโนเวทตึกแถว 3 ชั้น ในหมู่บ้านเก่า หน้ากว้าง 6 เมตร แปลงโฉมใหม่ให้สวย ทันสมัย น่าอยู่ พร้อมเพิ่มพื้นที่ส่วนตัวให้กับทุกคนในบ้าน ตึกแถว มีข้อจำกัดหลายด้าน แม้จะมีหลายชั้นแต่พื้นที่ใช้สอยอาจจะน้อยเกินไปสำหรับครอบครัวขนาดใหญ่ หรือมีจำนวนสมาชิกหลายคน ทั้งพ่อ แม่ ลูก และตา-ยาย เพราะทุกคนต่างก็ต้องการพื้นที่เป็นของตัวเอง เช่นเดียวกับตึกแถวหลังนี้ที่เจ้าของบ้านอยากจะขยับขยายให้กว้างขึ้น ทีมสถาปนิกจาก Studionomad ทำการรีโนเวทตึกแถวหลังนี้ใหม่ทั้งหมด บ้านหลังนี้เดิมเป็นตึกแถวในหมู่บ้านเก่าย่านพระราม 3 ตั้งอยู่บนที่ดิน 30 ตารางวา หน้ากว้าง 6 เมตร ตำแหน่งของอาคารทุกหลังจะหันหน้าบ้านเข้าหากัน โดยมีถนนและสวนเล็ก ๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลางมี่คนในหมู่บ้านใช้เป็นที่จอดรถ วิ่งออกกำลังกาย ผ่านตรงกลาง ทำให้ขาดความเป็นส่วนตัว และเจ้าของบ้านก็ต้องการเพิ่มพื้นที่จาก 3 ชั้น เป็น 4 ชั้น เพื่อรองรับการอยู่อาศัยของคนในครอบครัว ซึ่งมี 3 เจเนอเรชัน คือ ปู่ย่า พ่อแม่ และลูก ซึ่งนอกจากอยากให้แต่คนมีห้องนอนเป็นของตัวเองแล้ว อยากจะเพิ่มห้องนั่งเล่นเป็น 2 ห้อง […]
แบบบ้านสองชั้นสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล สวย สบาย ใกล้ชิดธรรมชาติ
แบบบ้านสองชั้น สไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล เรียบหรู สวยงาม ภายในกว้างขวาง ฟังก์ชันตอบโจทย์การใช้งาน บรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติแบบฉบับคนเมือง บ้านที่น่าอยู่ อาจไม่ใช่บ้านที่ดูสวยงามเพียงอย่างเดียว คงจะดีกว่าหากมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์กับการใช้งานของผู้อาศัย ตัวอย่างเช่น TANN House แบบบ้านสองชั้นพื้นที่ขนาด 600 ตารางเมตร จาก AOMO Architecture สถาปนิกและอินทีเรียไทย ที่นำเอาความต้องการของผู้อาศัยมารังสรรค์พื้นที่บ้านหลังเก่าในย่านปิ่นเกล้า ให้มีความสวยงาม น่าอยู่ และทันสมัยเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของครอบครัวปัจจุบันมากขึ้น รอบ ๆ อาคารตกแต่งด้วยระแนงสีขาวและช่องหน้าต่าง ซึ่งช่วยให้สามารถชมวิวได้จากภายใน ไปพร้อมกับการรักษาความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดช่องให้แสงสามารถส่องเข้ามายังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังช่วยให้ภายนอกมีความโดดเด่นและดูโมเดิร์น บริเวณรอบบ้าน ด้านหน้าประกอบด้วยที่จอดรถจำนวน 4 คัน แบ่งออกเป็นสองฝั่งซ่อนอยู่ด้านหลังประตูทางเข้าด้านซ้ายและขวา สำหรับด้านข้างเป็นสวนหย่อมล้อมรอบที่สามารถชมบรรยากาศพื้นที่สีเขียวได้จากพื้นที่ชั้นล่างของตัวบ้าน บริเวณโซนห้องนั่งเล่น ห้องกินข้าว และห้องครัว ซึ่งช่วยให้ผู้อาศัยรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น การตกแต่งภายในเน้นสีขาวเป็นหลัก เพราะเป็นโทนสีที่ช่วยให้บ้านดูสวย สะอาด และมีความทันสมัย อีกทั้งยังทำให้พื้นที่โดยรวมดูกว้างขวาง เหมาะกับการพักผ่อน แถมยังเป็นสีที่เข้ากับวัสดุต่าง ๆ อาทิ อะลูมิเนียมและไม้ ได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นแบบบ้านสองชั้นอีกหนึ่งหลังที่สวยและน่าอยู่มากเลยทีเดียว ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก […]
มาดูรีวิวการสร้างบ้านตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จ ในงบเพียง 1.5 ล้านบาท ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวทางในการสร้างบ้านมากขึ้นกันค่ะ
มาดูรีวิวการสร้างบ้านตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จ ในงบเพียง 1.5 ล้านบาท ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวทางในการสร้างบ้านมากขึ้นกันค่ะ สำหรับใครที่กำลังมองหารีวิวการสร้างบ้านแบบละเอียด ๆ ที่มีข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งบ้านเสร็จ วันนี้กระปุกดอทคอมได้นำรีวิวดี ๆ โดย คุณลุงมา สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มาฝากกันแล้ว โดยบอกได้เลยว่าในรีวิวนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างบ้านไว้อย่างละเอียดครบถ้วน ซึ่งมีทั้งเรื่องราวการวางแผน การถมดิน การหาแบบ การขออนุญาต การยื่นกู้ การลงเสา งานโครงสร้าง งานก่อสร้าง การขอบ้านเลขที่ การขอขยายเขตไฟฟ้า การขอส่งงวดธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าต่อให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องการสร้างบ้านมาก่อน ก็สามารถทำเรื่องสร้างบ้านได้หลังจากอ่านรีวิวนี้จบ ฉะนั้นใครที่มีความฝันอยากจะสร้างบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง ห้ามพลาดรีวิวดี ๆ นี้เด็ดขาด [CR] รีวิวสร้างบ้าน Modern+ร้านเครื่องเขียน+รั้ว ด้วยงบไม่เกิน 1.5 ล้าน โดย คุณลุงมา เราและครอบครัวมีที่ดินแปลงเล็ก ๆ ขนาด 1 งาน อยู่ ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย (แถว ๆ วิทยาลัยเชียงราย) […]
รีวิวกู้ธนาคารสร้างบ้านตั้งแต่เริ่มจนเสร็จ พร้อมสวนสไตล์อังกฤษหน้าบ้าน
แชร์ประสบการณ์กู้ธนาคารซื้อที่ดินและสร้างบ้านสองชั้นครึ่งสไตล์มินิมอล เริ่มตั้งแต่ศูนย์จนถึงเข้าอยู่ พื้นที่ 65 ตารางวา พร้อมสวนสไตล์อังกฤษ ใครอยากมีบ้านปลูกเองแต่ไม่มีเงินสดเป็นก้อน อยากให้เข้ามาดู รีวิวกู้ธนาคารสร้างบ้านจาก คุณ สมาชิกหมายเลข 6320407 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ที่ได้ตัดสินใจยื่นกู้กับธนาคารเพื่อสร้างบ้าน ประกอบด้วย 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ และสวนสไตล์อังกฤษ รวมทั้งบอกเล่าประสบการณ์เตรียมเอกสารประกอบการกู้ การขอทะเบียนบ้านและเลขที่บ้านจากสำนักงานเขต ตลอดจนการขอใช้น้ำประปาและมิเตอร์ไฟ ใครอยากชมแบบบ้านสไตล์มินิมอลตามมาดูกันเลยค่ะ แชร์ประสบการณ์การกู้ธนาคารซื้อที่ดินพร้อมสร้างบ้านตั้งแต่ศูนย์จนถึงอยู่อาศัย เริ่มกู้ 2019 โดย คุณ สมาชิกหมายเลข 6320407 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม เนื่องจากโควิดระลอก 3 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสอยู่บ้านอย่างจริงจัง จึงมีดำริคิดได้ว่ากว่าเราจะผ่านการสร้างบ้านมาจนอยู่ได้ขนาดนี้เราก็ผ่านอะไรกันมาเยอะจริง ๆ ทั้งขั้นตอนการติดต่อธนาคาร ติดต่อซื้อที่ดิน ติดต่อขออนุญาตก่อสร้าง ติดต่อขอน้ำ ขอไฟ จนแล้วเสร็จ ก็เป็นระยะเวลาร่วม ๆ ปีเศษ ทั้งที่ติดปัญหาโควิดระลอกแรกนั่นแหละ วันนี้จึงอยากมาแชร์ประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมาจนกว่าบ้านจะเสร็จค่ะ ขอแบ่งเป็นพาร์ต ดังนี้ 1. ก่อนเริ่มปลูกสร้างบ้าน ขอบอกว่าเป็นพาร์ตที่หินที่สุดเพราะทั้งติดต่อธนาคาร […]
ASRS WAREHOUSE AND TRANSFERRING SYSTEM AYUTTAYA By spun micropile
บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายพร้อมตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (Spun Micropile, Square Micropile, I Micropile, Steel Micropile) บริษัทนี้มีผลงานการตอกเสาเข็มที่มีคุณภาพมาแล้วมากมาย และมีหลายโปรเจคอยู่ในมือ ยกตัวอย่างโปรเจคที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น โปรเจค ASRS WAREHOUSE AND TRANSFERRING SYSTEM AYUTTAYA โดยรายละเอียดของโปรเจคมีดังนี้ เสาเข็ม Spun Micropile dia.25 cm. ความลึก 18 เมตร น้ำหนักตุ้ม 1.2 ตัน รับน้ำหนักปลอดภัย 40 ตัน/ต้น จำนวน 264 ต้น ทุกคนสามารถดูบรรยากาศในการทำงานโปรเจคนี้ได้ที่คลิปในช่อง Youtube ตามลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=OzakN… นอกจากในคลิปนี้ที่แสดงบรรยากาศในการทำงานโปรเจค ASRS WAREHOUSE AND TRANSFERRING SYSTEM AYUTTAYA แล้ว ในช่อง […]
งานตอกเสาเข็ม Spun Micro Pile Dia.30cm. พร้อมทดสอบรับน้ำหนัก @Synergy Health ( Thailand )
งานตอกเสาเข็ม ผู้ผลิตและจำหน่ายพร้อมตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (Spun Micropile, Square Micropile, I Micropile, Steel Micropile) พร้อมทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยวิธีทางพลศาสตร์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด www.narongmicrospun.com Tel : 02-159-8480 Mobile : 091-309-7695 คนส่วนใหญ่ล้วนรู้กันดีว่า ในงานก่อสร้างต่าง ๆ แน่นอกว่าต้องมีเสาเข็มเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับงานแต่ละงาน เนื่องจากเป็นเสาเข็มเป็นส่วนสำคัญในด้านการเสริมความแข็งแรงให้กับบ้าน อาคารต่าง ๆ เสาเข็มมีทั้งหมด 3 ประเภทที่นิยมใช้งานกันทั่วไป อย่างแรกคือเสาเข็มตอก เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบตัว I แบบสี่เหลี่ยม แบบตัว T และแบบกลม ประเภทที่สองคือเสาเข็มเจาะ เสาเข็มประเภทนี้จะต้องทำในพื้นที่จริงที่ต้องการจะสร้างอาคารและมีวิธีในการทำค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน โดยจะต้องใช้เครื่องมือเจาะ ขุดดินลงไปให้ได้ความลึกของขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็มตามที่กำหนด จากนั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม และประเภทที่สาม ประเภทสุดท้าย เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือเรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน (Spun Pile) ผลิตได้โดยการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่ผลิตด้วยวิธีอื่น มีความแข็งแกร่งสูงและรับน้ำหนักได้มาก มีลักษณะเป็นเสากลม […]
delele user
นโยบายข้อมูล นโยบายฉบับนี้จะอธิบายถึงข้อมูลที่เราประมวลผลเพื่อสนับสนุน Facebook, Instagram, Messenger รวมถึงผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์อื่นๆ ที่ Facebook นำเสนอ (ผลิตภัณฑ์ในเครือ Facebook หรือผลิตภัณฑ์) คุณสามารถค้นหาเครื่องมือและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในการตั้งค่า Facebook และการตั้งค่า Instagram กลับไปด้านบน เราเก็บข้อมูลประเภทใดบ้าง เราต้องประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับคุณเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ในเครือ Facebook ประเภทของข้อมูลที่เราเก็บขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา คุณสามารถเรียนรู้วิธีการเข้าถึงและลบข้อมูลที่เราเก็บได้โดยเข้าไปที่การตั้งค่า Facebook และการตั้งค่า Instagram สิ่งที่คุณและผู้อื่นดำเนินการและจัดเตรียมให้ ข้อมูลและเนื้อหาที่คุณให้ เราเก็บรวบรวมเนื้อหา การสื่อสาร และข้อมูลอื่นๆ ที่คุณให้เมื่อคุณใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา รวมถึงเมื่อคุณสมัครใช้งานบัญชีผู้ใช้ สร้างหรือแชร์เนื้อหา และส่งข้อความหรือติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ เนื้อหา การสื่อสาร และข้อมูลเหล่านี้อาจรวมถึงข้อมูลที่อยู่ในเนื้อหาหรือเกี่ยวกับเนื้อหาที่คุณให้ (เช่น เมตาดาต้า) ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งที่ตั้งของรูปภาพหรือวันที่สร้างไฟล์ นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงสิ่งที่คุณเห็นผ่านฟีเจอร์ต่างๆ ที่เราจัดหาให้ เช่น กล้อง เพื่อให้เราสามารถดำเนินการต่างๆ เช่น แนะนำหน้ากากและฟิลเตอร์ที่คุณอาจชอบ หรือให้คำแนะนำในการใช้รูปแบบกล้อง ระบบของเราจะประมวลผลเนื้อหาและการสื่อสารที่คุณและผู้อื่นให้โดยอัตโนมัติเพื่อวิเคราะห์บริบทและเนื้อหาที่อยู่ในข้อมูลดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ดังที่อธิบายไว้ด้านล่าง เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการควบคุมว่าใครบ้างที่สามารถเห็นสิ่งที่คุณแชร์ได้ ข้อมูลที่มีการคุ้มครองพิเศษ คุณสามารถเลือกที่จะให้ข้อมูลในช่องกรอกข้อมูลโปรไฟล์ Facebook หรือเหตุการณ์ในชีวิตของคุณเกี่ยวกับมุมมองทางศาสนา ทรรศนะทางการเมือง บุคคลที่คุณ “สนใจ” หรือสุขภาพของคุณ ข้อมูลนี้และข้อมูลอื่นๆ (เช่น เชื้อชาติหรือชาติกำเนิด […]
privacy
ข้อกำหนดในการใช้บริการ ยินดีต้อนรับสู่ Facebook! Facebook สร้างเทคโนโลยีและบริการต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนเชื่อมต่อถึงกันและกัน สร้างชุมชน และขยายธุรกิจ ข้อกำหนดเหล่านี้กำกับดูแลการใช้ Facebook, Messenger รวมถึงผลิตภัณฑ์ ฟีเจอร์ แอพ บริการ เทคโนโลยี และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่เราให้บริการ (เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์ในเครือ Facebook” หรือ “ผลิตภัณฑ์”) เว้นแต่เราจะระบุอย่างชัดแจ้งว่าให้บังคับใช้ข้อกำหนดแยกต่างหาก (ที่ไม่ใช่ข้อกำหนดเหล่านี้) Facebook, Inc. เป็นผู้จัดเตรียมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้คุณ เราไม่เก็บค่าบริการเมื่อคุณใช้ Facebook หรือผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดเหล่านี้ แต่ธุรกิจและองค์กรจะจ่ายเงินให้เราเพื่อแสดงโฆษณาสำหรับสินค้าและบริการของตนให้กับคุณแทน การใช้ผลิตภัณฑ์ของเราหมายความว่าคุณยินยอมให้เราแสดงโฆษณาที่เราคิดว่าจะเกี่ยวข้องกับคุณและความสนใจของคุณ เราใช้ข้อมูลส่วนตัวของคุณเพื่อช่วยพิจารณาว่าจะแสดงโฆษณาใดให้คุณเห็น เราไม่ขายข้อมูลส่วนตัวของคุณแก่ผู้ลงโฆษณา และเราจะไม่แชร์ข้อมูลที่ระบุตัวคุณได้โดยตรง (เช่น ชื่อ อีเมล หรือข้อมูลติดต่ออื่นๆ) กับผู้ลงโฆษณาเว้นแต่คุณจะให้สิทธิ์การอนุญาตเป็นการเฉพาะกับเรา แต่ผู้ลงโฆษณาสามารถบอกเราเกี่ยวกับประเภทของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เห็นโฆษณาของตนได้ แล้วเราจึงแสดงโฆษณาเหล่านั้นให้กับผู้คนที่อาจสนใจ เราจัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของโฆษณาให้แก่ผู้ลงโฆษณาซึ่งช่วยให้ผู้ลงโฆษณาทำความเข้าใจวิธีที่ผู้คนโต้ตอบกับเนื้อหาของตน ดูส่วนที่ 2 ด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม นโยบายข้อมูลของเราอธิบายวิธีที่เราเก็บและใช้ข้อมูลส่วนตัวของคุณเพื่อพิจารณาแสดงโฆษณาบางรายการให้คุณเห็น และจัดหาบริการอื่นๆ ทั้งหมดตามที่ระบุไว้ด้านล่าง คุณยังสามารถไปที่ “การตั้งค่า” ได้ทุกเมื่อเพื่อตรวจสอบตัวเลือกความเป็นส่วนตัวที่คุณมีเกี่ยวกับวิธีที่เราใช้ข้อมูลของคุณ กลับไปด้านบน […]
การใช้ข้อมูลการทดสอบ SPT
ค่า SPT -N เป็นแค่เพียงดัชนีชี้วัดพฤติกรรมของดินตอบสนองต่อการตอกเท่านั้น ไม่ได้เป็นการวัดคุณสมบัติทางกลของดินโดยตรง ดังนั้นการจะนำไปใช้วิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมปฐพี จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ได้เสียก่อน โดยอาศัยความสำพันธ์เชิงปประสบการณ์ที่มีผู้ทำไว้ก่อนแล้ว ซึ่งความสำพันธ์ที่มีอยู่นั้นส่วนใหญ่จะค่อนข้างหยาบ โดยเฉพาะความสำพันธ์ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือทดสอบรุ่นเก่าที่แตกต่างไปจากเครื่องมือทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือถ้าได้ค่า SPT เท่ากับ 20 ครั้งต่อฟุต เมื่อต้องการแปลงค่าไปเป็น unconfined compression test จะมีค่าได้ตั้งแต่ 15 ตันต่อตารางเมตร ไปจนถึง 40 ตันต่อตารางเมตร ซึ่งผู้สร้างความสำพันธ์ได้แนะให้ใช้เท่ากับ 20 ตันต่อตารางเมตร จะเห็นได้ว่าค่าที่แนะนำนั้นผิดไปจากที่เป็นไปได้มากทีเดียว ความไม่แน่นอนอีกประการหนึ่งได้แก่ความไม่แน่นอนของข้อมูลการทดสอบ SPT เองโดยตัวอย่างของการทดสอบ SPT ในบริเวณเดียวกันที่มีชั้นดินค่อนข้างสม่ำเสมอให้ผลที่กระจัดกระจายมาก ดังรูปที่ 1 ดังนั้นในการใช้ค่า SPT ในการออกแบบนั้นจะต้องระลึกไว้เสมอว่าค่าที่ได้นั้นเป็นเพียงค่าดัชนีเท่านั้น รูปที่ 1 ผลการทดสอบ Standard penetration test ในชั้นดินกรุงเทพที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ความสำพันธ์ระหว่าง SPT, N-Value กับพารามิเตอร์ของดิน ได้มีการนำเอาค่า SPT -N […]
การทดสอบภาคสนามด้วยวิธี Standard Penetration Test (SPT)
การทดสอบในสนามด้วยวิธี Standard Penetration Test (SPT) การทดสอบด้วยวิธีนี้ได้พัฒนาขึ้นมาราวปี ค.ศ. 1927 ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีทดสอบที่นิยมใช้กันมากที่สุดและเป็นการทดสอบที่ประหยัดที่สุดที่จะได้ข้อมูลชั้นดินมาใช้ในการออกแบบ โดย Bowles (Bowles 1996) ประมาณไว้ว่า 85 – 90 เปอร์เซ็นต์ของการออกแบบฐานรากปกติในอเมริการเหนือและอเมริการใต้ใช้ข้อมูล SPT ในการออกแบบ การทดสอบจะอ้างอิงมาตรฐาน ASTM D 1586 โดยมีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้ ตอกกระบอกแบบผ่าซีกแบบมาตรฐาน ซึ่งมีขนาดดังรูปที่ 1 โดยให้ปลายกระบอกวางอยู่พอดีกับระดับก้นหลุมเจาะ โดยการตอกจะใช้ตุ้มตอกที่มีน้ำหนัก 140 ปอนด์ (63.5 กิโลกรัม) ในการตอกแต่ละครั้งจะยกตุ้มสูง 30 นิ้ว (762 มิลลิเมตร) ตกอย่างอิสระ ดังรูปที่ 2 ในการตอกจะตอกให้กระบอกจมลงในดินเป็นระยะ 18 นิ้ว โดยแบ่งระยะของกาตอกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 6 นิ้ว ค่า […]
วิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก
ในการสำรวจดินเพื่อการออกแบบฐานรากนั้นสามารถกระทำได้ทั้งการเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการทดสอบในสนาม ซึ่งรูปแบบการเจาะสำรวจดินแสดงดังรูปที่ 1 ข้อแตกต่างของการทดสอบทั้งสองวิธีนี้คือ วิธีการเก็บตัวอย่างจะต้องเจาะหรือขุดจนถึงระดับที่ต้องการเพื่อเก็บตัวอย่างขึ้นมา ส่วนการทดสอบในสนามนั้นไม่ต้องเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบ สำหรับรายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
ตำแหน่งของหลุมเจาะและความลึกของหลุม
ในการเลือกตำแหน่งของหลุมเจาะ ถ้าชั้นดินไม่สม่ำเสมอนักอาจต้องทำการเจาะสำรวจให้ใกล้เคียงกับตำแหน่งของฐานรากมากที่สุด ถ้าในขณะที่จะทำการเจาะสำรวจยังไม่มีการวางตำแหน่งโครงสร้าง ตำแหน่งของหลุมเจาะควรจะครอบคลุมบริเวณทั้งหมด จำนวนหลุมเจาะที่จะต้องเจาะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่นความสม่ำเสมอของชั้นดิน ถ้าชั้นดินสม่ำเสมอการเจาะหลุมเจาะเพียงไม่กี่หลุมก็อาจเพียงพอแล้ว แต่ถ้าชั้นดินไม่มีความสม่ำเสมออาจจะต้องเจาะหลุมเจาะมากขึ้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเจาะเมื่อเปรีบยเทียบกับมูลค่าของโครงการ โครงการมูลค่าไม่สูงมากนัก ถ้าทำการเจาะสำรวจและทดสอบปริมาณน้อยแต่ใช้ Factor safety สูงขึ้นก็อาจประหยัดกว่า แต่ถ้าเป็นโครงการที่มีมูลค่าโครงการสูงการเจาะสำรวจและทดสอบมากขึ้นจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ราคาของฐานรากลดลงอย่างมาก สำหรับโครงการทั่วๆ ไปในชั้นดินที่ไม่ซับซ้อนและพอจะทราบข้อมูลชั้นดินมาบ้างจะเจาะหลุมเจาะประมาณ 2 หลุม ถ้าเป็นไปได้ควรจะเจาะ 3 หลุม เพื่อแสดงรูปตัดชั้นดินได้ทั้งสองแนว
วัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจดิน
ในงานวิศวกรรมปฐพีสิ่งที่จำเป็นประการหนึ่งก็คือการเจาะสำรวจดิน วัตถุประสงค์ในการเจาะสำรวจดินนั้นเพื่อใช้เป็นข้อมูล เพื่อใช้เลือกชนิดของฐานราก เพื่อใช้หากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของฐานรากที่เลือกใช้ เพื่อประมาณค่าการทรุดตัวของฐานรากที่เลือกใช้ เพื่อหาค่าระดับน้ำใต้ดิน เพื่อหาแรงดันดินด้านข้างที่กระทำต่อกำแพง หรือ Abutment ใช้ช่วยเขียนข้อกำหนดในการก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้หาชนิดของดินที่เหมาะสมในงานถม และหา Degree of compaction เพื่อประเมินค่าความปลอดภัยของโครงสร้างเดิม เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไข ในกรณีที่โครงสร้างไม่มีความปลอดภัย หรืออาจมีปัญหาเนื่องจากการทรุดตัว
การสำรวจและทดสอบดินในงานวิศวกรรมฐานราก
มนุษย์รู้จักสำรวจดินเพื่อทำฐานรากของโครงสร้างมานานแล้ว ในอดีตมักจะใช้ลองโดยไม่มีมาตรฐานระบุอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ในหนังสือที่เขียนโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2234 (ค.ศ. 1691) ได้อธิบายวิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ก่อสร้างฐานรากไว้ดังนี้ “ให้ลองเจาะหลุมหลายๆ หลุมเพื่อหาชั้นดินที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าดินที่มีคุณภาพดีนี้ไม่ได้วางอยู่บนดินเหนียว ดินทราย หรือดินใดๆ ที่จะยุบตัวลงเมื่อมีแรงกดกระทำ ในกรณีที่เจาะหลุมเพื่อดูดินไม่ได้ ก็ให้ใช้ไม้ยาว 6 – 8 ฟุต เคาะพื้นดิน ถ้าเสียงนั้นแน่นและเบาแสดงว่าดินแน่น ดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดได้ดี แต่ถ้าเสียงที่ได้ เป็นเสียงทึบดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดไม่ดีจึงไม่ควรใช้วางฐานราก”
งานฐานรากสำหรับอาคารที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น
ความรู้ทางด้านวิศวกรรมฐานรากนั้นได้ถูกปรับปรุงอยูาเสมอ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่ของมนุษย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด จากในอดีตที่ฐานรากมักเป็นฐานรากแผ่ หรือฐานรากที่เป็นเสาเข็มแบบที่ต้องใช้ลูกตุ้มตอกลงไปในดิน ได้ถูกพัฒนาจนมาเป็นเสาเข็มเจาะที่มีกำลังรับน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น เสาเข็มเจาะได้ถูกใช้เป็นฐานรากของโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่บางกรวยเมื่อปี พ.ศ. 2505 และต่อจากนั้นได้มีการนำวิธีการก่อสร้างเสาเข็มเจาะแบบต่างๆ มาใช้ก่อสร้างเสาเข็ม อาทิเช่นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการใช้เสาเข็มเจาะระบบเวียนกลับ (Reverse circulation) ในการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และได้มีการนะระบบ Continuous flight auger มาใช้ก่อสร้างโรงแรมเพรสซิเดนท์ เป็นต้น
ปัญหาทางวิศวกรรมที่ต้องใช้ความรู้ทางปฐพีกลศาสตร์
ในการวิเคราะห์ออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิน วิศวกรจำเป็นจะต้องมีความรู้และเข้าใจในปฐพีกลศาสตร์เป็นอย่างดี เนื่องจากดินเป็นวัสดุธรรมชาติที่แตกต่างจากวัสดุก่อสร้างชนิดอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาให้มีคุณสมบัติตามต้องการได้ อีกทั้งดินมีคุณสมบัติที่ขึ้นกับชนิดขององค์ประกอบ ขนาดคละ ปริมาณน้ำในดิน ประวิติของหน่วยแรงที่เคยเกิดขึ้นในเนื้อดิน เป็นต้น ในอดีตที่ผ่านมาจึงมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากวิศวกรไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของปฐพีกลศาสตร์ ตัวอย่างปัญหาที่มักจะพบได้แก่ การวิบัติของลาดดิน การวิบัติของกำแพงกันดิน การที่ฐานรากรับน้ำหนักบรรทุกต่ำกว่าที่ต้องการ การทรุดตัวของฐานรากที่ส่งผลต่อความชำรุดของอาคาร เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะพบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ หากการวิบัติมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน
งานด้านวิศวกรรมฐานราก
ฐานรากนั้นจำเป็นสำหรับโครงสร้างทุกชนิดที่ได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งงานทางด้านวิศวกรรมโยธาเกือบทั้งหมดจะเป็นงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างที่มีน้ำหนักมาก วิศวกรจะออกแบบโครงสร้างให้มีการถ่ายน้ำหนักจากโครงสร้างลงสู่ฐานส่วนล่างสุดและถ่ายลงสู่ดิน วิศวกรจะต้องตรวจสอบว่าดินที่รอบรับโครงสร้างนั้นจะต้องไม่วิบัติ ซึ่งถ้าดินเกิดการวิบัติถึงแม้ว่าโครงสร้างจะถูกออกแบบมาอย่างดีเพียงไรก็ไม่มีประโยชน์ดังรูปที่ 1 และวิศวกรยังจะต้องตรวจสอบว่าดินที่รองรับโครงสร้างจะไม่เกิดการทรุดตัวมากจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวโครงสร้างเอง
ประวัติศาสตร์งานฐานรากในประเทศไทย
อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในสมัยรัชกาลที่ 4 คนไทยนั้นได้รู้จักกับฐานรากกันมาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยเป็นประจำ จนหม่อมเจ้าอิศรญาณในสมัยรัชกาลที่ 4 สามารถนำมาประพันธ์เป็นสุภาษิตได้ ดังนั้นผู้คนทั่วไปในยุคสมัยนั้นสามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่า เสาหินที่ยาวแปดศอก (4 เมตร) นั้นถ้าถูกผลัก (มีแรงกระทำทางด้านข้าง) สลับด้านกันหลายๆ ครัง เสาจะเกิดการโยกคลอน (มีแรงด้านทานลดลง) และอีประการหนึ่งที่สามารถคาดเดาได้จากสุภาษิตนี้คือ ดินในบริเวณนั้นเป็นดินที่มีกำลังด้านทานต่อแรงกระทำต่ำ สำหรับกรณีศึกษาของฐานรากของไทยในอดีตได้จากเอกสารของ (สันติ 2547) ซึ่งได้ศึกษาชนิดของฐานรากของโบราณสถานในประเทศไทย แบ่งเป็นช่วงได้ดังนี้
Bending Test Diameter 300mm.
การทดสอบแรงดัด (Bending Test) ของเสาเข็มและรอยเชื่อม เมื่อชิ้นงานได้รับแรง ไม่ว่าจะเป็นแรงในแนวตั้งฉาก หรือตามแนวแกนเส้นศูนย์กลางของชิ้นงาน ทำให้เกิด แรงดึงและแรงกด ในฝั่งตรงกันข้ามกัน แล้วเป็นผลให้ ชิ้นงานเกิดการโก่งงอ จะเรียกว่า วัสดุอยู่ภายใต้ แรงดัด (Bending) รูปเสาเข็มก่อนทำการทดสอบ การดัดจะทำให้เกิด Bending Moment, M ซึ่งเป็นผลรวมของแรงที่กระทำต่อจุดรองรับ รูปเสาเข็มหลังทำการทดสอบ ผลการทดสอบ
Bending Test Daimeter 250mm.
การทดสอบแรงดัด (Bending Test) ของเสาเข็มและรอยเชื่อม เมื่อชิ้นงานได้รับแรง ไม่ว่าจะเป็นแรงในแนวตั้งฉาก หรือตามแนวแกนเส้นศูนย์กลางของชิ้นงาน ทำให้เกิด แรงดึงและแรงกด ในฝั่งตรงกันข้ามกัน แล้วเป็นผลให้ ชิ้นงานเกิดการโก่งงอ จะเรียกว่า วัสดุอยู่ภายใต้ แรงดัด (Bending) รูปเสาเข็มก่อนทำการทดสอบ การดัดจะทำให้เกิด Bending Moment, M ซึ่งเป็นผลรวมของแรงที่กระทำต่อจุดรองรับ รูปเสาเข็มหลังทำการทดสอบ ผลการทดสอบ
Bending Test Daimeter 200mm.
การทดสอบแรงดัด (Bending Test) ของเสาเข็มและรอยเชื่อม เมื่อชิ้นงานได้รับแรง ไม่ว่าจะเป็นแรงในแนวตั้งฉาก หรือตามแนวแกนเส้นศูนย์กลางของชิ้นงาน ทำให้เกิด แรงดึงและแรงกด ในฝั่งตรงกันข้ามกัน แล้วเป็นผลให้ ชิ้นงานเกิดการโก่งงอ จะเรียกว่า วัสดุอยู่ภายใต้ แรงดัด (Bending) รูปเสาเข็มก่อนทำการทดสอบ การดัดจะทำให้เกิด Bending Moment, M ซึ่งเป็นผลรวมของแรงที่กระทำต่อจุดรองรับ รูปเสาเข็มหลังทำการทดสอบ ผลการทดสอบ
Compression Test Diameter 300mm.
การทดสอบแรงอัด (Compression Test) วัตถุประสงค์หลักของการทดสอบ 1.ทดสอบความต้านทานต่อแรงกดอัดของวัสดุ 2.ศึกษาลักษณะการเสียรูป หรือแตกหักของชิ้นงาน รูปเสาเข็มก่อนการทดสอบ การทดสอบเริ่มจากเพิ่มแรงอัดอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ จนกระทั่งชิ้นงานเสียรูป และแตก รูปเสาเข็มหลังการทดสอบ ผลการทดสอบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Compression Test Diameter 250mm.
การทดสอบแรงอัด (Compression Test) วัตถุประสงค์หลักของการทดสอบ 1.ทดสอบความต้านทานต่อแรงกดอัดของวัสดุ 2.ศึกษาลักษณะการเสียรูป หรือแตกหักของชิ้นงาน รูปเสาเข็มก่อนการทดสอบ การทดสอบเริ่มจากเพิ่มแรงอัดอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ จนกระทั่งชิ้นงานเสียรูป และแตก รูปเสาเข็มหลังการทดสอบ ผลการทดสอบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Compression Test Daimeter 200mm.
การทดสอบแรงอัด (Compression Test) วัตถุประสงค์หลักของการทดสอบ 1.ทดสอบความต้านทานต่อแรงกดอัดของวัสดุ 2.ศึกษาลักษณะการเสียรูป หรือแตกหักของชิ้นงาน รูปเสาเข็มก่อนการทดสอบ การทดสอบเริ่มจากเพิ่มแรงอัดอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ จนกระทั่งชิ้นงานเสียรูป และแตก รูปเสาเข็มหลังการทดสอบ ผลการทดสอบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รับพื้นและแท่นเครื่องจักรโรงงานจรุงไทยไวร์แอนด์เคเบิ้ล
พาชมบรรยากาศงานตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ขนาดหน้าตัด 25 เซนติเมตร จำนวน 504 ต้น ที่ @จรุงไทยไวร์แอนด์เคเบิ้ล บางน้ำเปรี้ยว สุวินทวงศ์ รับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 40 ตัน/ต้น เพื่อรับพื้นใหม่และตอกรับแท่นเครื่องจักรเครื่องใหม่ ระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัดผู้ว่าจ้างกับบริษัทณรงค์ ไมโครสปันจำกัดเป็นผู้รับจ้าง โดยมีสัญญางานตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ 54 วัน ดูบรรยากาศได้เลยครับ #ไมโครไพล์ #micropile #spun micropile #i micropile Spun micropile Dia.25 cm. @Charoong Thai Wire and Cable — Sala Daeng, Bang Nam Priao District, Chachoengsao Supply & Installation Of 504nos. PC Micro Spun Pile
สร้างอาคารใหม่ โรงงาน FameLine อมตะนคร
ตอกรับ PIPE RACK นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
ต่อเติมโรงงาน NAPT
ต่อเติมโรงงาน Ziga innovation (New Factory)
ต่อเติมโรงงาน ยู.บี.อุตสาหกรรมเคมี (ซ.เพชรเกษม81)
ต่อเติมโรงงาน Lactasoy บางนา
Tyson Foods Thailand(Ongkarak Plant)
ไทยเอ็นไวรอนเม้นท์ ซีสเท็มส์
Thai Environment System สุขสวัสดิ์ 78 กับโครงการปรับปรุงโครงสร้าวอาคารใหม่ ตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร รับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 40 ตัน/ต้น ใช้ SafetyFactor 2.5 เท่า เทียบกับรายการคำนวณ Danish’s Formular ที่ความลึกประมาณ 24 – 28 เมตร