ไมโครไพล์ หรือ เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) คือเสาเข็มตอกขนาดเล็กมีแรงสั่นสะเทือนน้อยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิมหรืออาคารข้างเคียงแรงสั่นสะเทือนต่ำ ใช้ตอกในพื้นที่จำกัด เช่นการต่อเติมบ้าน อาคาร และโรงงาน ควบคุมการตอกโดยทีมช่างมืออาชีพมากประสบการณ์ ควบคุมดูแลด้วยทีมงานวิศวกร เสาเข็มไมโครไพล์ รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 15-50 ตันต่อต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ลดแรงสั่นสะเทือนขณะทำการตอกและเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่หน้างาน เสาเข็มไมโครไพล์ที่นิยมใช้กับงานตอกเสาเข็มบ้าน อาคาร จะมีลักษณะคล้ายรูปตัวไอ มีความยาวท่อนละ 1.5 เมตร มีทั้งขนาดหน้าตัด 18×18 ซม. (ราคาถูกสุด) และ 22×22 ซม. ซึ่งทางศัพท์ช่างจะเรียกว่า เสาเข็มไอไมโครไพล์ หรือถ้าเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ส่วนมากก็จะนิยมใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ซึ่งศัพท์ช่างที่นิยมกันนั้นจะเรียกได้หลายคำ อาทิเช่น เสาเข็มสปัน, สปันไมโครไพล์,เข็มสปันไมโครไพล์ เป็นต้น
ไมโครไพล์ แบบแรงเหวี่ยง
1. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกตรงกลางกลวง ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูงกว่าเสาเข็มประเภทอื่นๆ และสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเทียบกับขนาดหน้าตัดที่เท่ากัน
ไมโครไพล์ ภาคตัดขวางรูปตัวไอ
2. เสาเข็มไมโครไพล์รูปตัวไอ (i micropile) มีรูปหน้าตัดเป็นรูปตัวไอ (I) ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ผลิตโดยการเทคอนกรีตลงในแบบเสริมด้วยโครงลวดเหล็ก Db9 mm. แล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีต (วายจี้คอนกรีต) เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อคอนกรีต ข้อดีของเสาเข็มหน้าตัดตัวไออยู่ที่เส้นรอบรูปที่มากกว่าเสาเข็มเหลี่ยม ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็ม (Skin Friction) และดินได้มากกว่า จึงทำให้มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น หากติดตั้งในบริเวณที่เป็นชั้นดินตะกอน หรือดินเหนียว จึงนิยมใช้ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงราคาที่ถูกกว่าและน้ำหนักที่น้อยกว่าเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยม
เสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) นี้จะใช้วิธีการตอกแบบพิเศษ โดยใช้ปั้นจั่นขนาดเล็กตอกลงไปและใช้วิธีการต่อเสาเข็มโดยการเชื่อมไฟฟ้าเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ จนตอกไม่ลง แล้วใช้การคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็ม จากขนาดหน้าตัดของเสาเข็ม ระยะยกลูกตุ้ม น้ำหนักของลูกตุ้ม ความลึกของเสาเข็มและ Blowcount มาคำนวณโดยส่วนใหญ่แล้ววิศวกรจะใช้สูตรการคำนวณแบบ Danish’s Formular ขนาดของลูกตุ้ม (Hammer) ที่ใช้ตอกเสาเข็มไมโครไพล์มีน้ำหนักไม่มาก ประมาณ 1.2 ตัน ขึ้นไป ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าเข็มตอกประเภทอื่น สามารถเข้าไปตอกได้ทุกสภาพพื้นที่ เหมาะกับพื้นที่คับแคบหรือมีความสูงไม่มาก เริ่มต้นที่ 2.5 เมตรขึ้นไป ตอกชิดกระจก ผนัง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย สะอาดไม่ต้องขนดินทิ้ง ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์ คลิกเพื่ออ่านต่อ
บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด
โรงงานผลิตและจำหน่ายพร้อมตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (ไมโครไพล์,micropile)
MICRO SPUN PILE SPECIFICATION COMPARISON
ข้อมูลของเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ (SPUN MICROPILE)
Diameter 200 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 20 เซนติเมตร |
น้ำหนักปลอดภัย | 30 – 35 Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
Settlement Per 10Blow | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 5.5 cm. |
จำนวนเหล็ก Dowel | 6 เส้น 9mm. |
เหล็กปลอก | 6mm. |
เหล็กเพลท | 6mm. กว้าง 2 นิ้ว |
Diameter 250 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 25 เซนติเมตร |
น้ำหนักปลอดภัย | 40 – 45 Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
Settlement Per 10Blow | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 5.5 cm. |
จำนวนเหล็ก Dowel | 8 เส้น 9mm. |
เหล็กปลอก | 6mm. |
เหล็กเพลท | 6mm. กว้าง 2 นิ้ว |
Diameter 300 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 30 เซนติเมตร |
น้ำหนักปลอดภัย | 50 – 55 Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
Settlement Per 10Blow | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 6.5 cm. |
จำนวนเหล็ก Dowel | 10 เส้น 9mm. |
เหล็กปลอก | 6mm. |
เหล็กเพลท | 6mm. กว้าง 2 นิ้ว |
Diameter 350 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 35 cm. |
---|---|
น้ำหนักปลอดภัย | 55 – 60 ตัน |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 6.5 cm. |
ขนาดเหล็ก Dowel Bar | 9 mm. |
จานวนเหล็ก Dowel Bar | 10 |
ขนาดเหล็ก Spiral | 6 mm. |
Diameter 400 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 40 cm. |
---|---|
น้ำหนักปลอดภัย | 65 – 70 ตัน |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 7 cm. |
ขนาดเหล็ก Dowel Bar | 9 mm. |
จานวนเหล็ก Dowel Bar | 10 |
ขนาดเหล็ก Spiral | 6 mm. |
I MICRO PILE SPECIFICATION COMPARISON
ตารางเปรียบเทียบการรับน้ำหนักของเสาเข็มไอไมโครไพล์
ไมโครไพล์ ภาคตัดขวางรูปตัวไอ
เสาเข็มหน้าตัดรูปตัวไอ เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป ประเภทเสาเข็มตัวไอ ผลิตจากคอนกรีตอัดแรงเสริมด้วยโครงลวดเหล็ก Db9 mm. ข้อดีของเสาเข็มหน้าตัดตัวไออยู่ที่เส้นรอบรูปที่มากกว่าเสาเข็มเหลี่ยม ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็ม (Skin Friction) และดินได้มากกว่า จึงทำให้มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น หากติดตั้งในบริเวณที่เป็นชั้นดินตะกอน หรือดินเหนียว จึงนิยมใช้ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงราคาที่ถูกกว่าและน้ำหนักที่น้อยกว่าเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยม
ไมโครไพล์ i18x18 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 274.5 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 89 cm. |
Dowel Bar | 4 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 18 – 25 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | 115 Kg. |
ไมโครไพล์ i26x26 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 489 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 131 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 30 – 35 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – |
ไมโครไพล์ i22x22 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 386 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 109 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 25 – 30 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – |
ไมโครไพล์ i30x30 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 660 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 150 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 35 – 40 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – |
SQUARE MICRO PILE SPECIFICATION COMPARISON
ไมโครไพล์ ภาคตัดขวางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตัน
SQUARE MICRO PILE 22x22cm.
ขนาดหน้าตัดกว้างxยาว 22×22 cm. ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 20-25 Ton/Pile โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็ม square micro pile ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็ม square micro pile โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือ ทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test
- ค่ากำลังอัดคอนกรีต 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ ตามข้อกำหนด มอก. 397-2524
- Spiral มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 6 mm. ยาว 10 เมตร จำนวน 1 เส้น
- Dowel มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 9 mm. จำนวน 8 เส้น
สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้
โทรหาเรา
TEL : 02-159-8480
Mobile : 081-309-7695, 086-413-3962
เครื่องตอกเสาเข็ม (Piling Machine) ชนิด : ไมโครไพล์และเข็มไมโครสปันไพล์
- หน้ากว้าง 1.2 เมตร
- ยาว 4.5 เมตร
- สูง 3 เมตร
- ตุ้มหนัก 1.2 -1.5 ตัน
- ระบบขับเคลื่อน วินซ์และรอก
- เครื่องยนต์ yanmar diesel 15 hp
- หน้ากว้าง 1.8 เมตร
- ยาว 4.5 เมตร
- สูง 3.5 เมตร
- ตุ้มหนัก 1.4 -1.5 ตัน
- ระบบขับเคลื่อน ไฮดรอลิคล้อยาง
- เครื่องยนต์ yanmar diesel 15 hp
Video Update
รีวิวงานต่อเติมบ้าน อาคารสำนักงาน โรงงาน
รวมบทความที่น่าสนใจ
เครื่องมือสำหรับงานก่อสร้าง
งานก่อสร้างอาคารนอกจากฝีมือของช่างผู้ที่ปฏิบัติงานก่อสร้างอาคารแล้วเครื่องมือก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน งานก่อสร้างอาคารมีช่างหลายสาขาประกอบกันอยู่ เช่น ช่างไม้แบบ ช่างไม้ โครงสร้าง ช่างปูน ช่างเหล็กเสริมคอนกรีต ช่างเชื่อมเหล็กโครงสร้างฯ จึงได้แบ่งเครื่องมือที่ใช้ในงาน ก่อสร้างอาคารเป็น 3 ประเภทดังนี้ เครื่องมือประจำงานก่อสร้างเป็นเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ มีราคาแพงหรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่วนรวม มีการแตก หักชำรุดเสียหายง่าย ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้จัดหาไว้ให้ช่าง และคนงานเบิกใช้ในงานก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องมือนี้ …
อย่าเปลี่ยนพื้นห้องแถวชั้นล่างให้เป็น Slab on Beam
กว่า 99.99% ของห้องแถวในประเทศไทย พื้นชั้นล่างจะเป็น Slab on Ground คือพื้นชั้นล่าง ถ่ายน้ำหนัก ของพื้น ลงบนดินโดยตรง (เวลาดินทรุดพื้นห้องก็ทรุดตาม เกิดอาการแอ่นและแตกร้าว) แต่คุณก็อย่าดัน ไปทุบ พื้นเก่าทิ้ง แล้วหล่อพื้นขึ้นใหม่ ให้พื้นไปวางบนคาน (Slab on…
ฐานรากเสาเข็ม
เสาเข็มนับว่าเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างที่สัมผัสดินโดยตรง เสาเข็มจะท้าหน้าที่ถ่ายน้้าหนักของอาคารลงสู่ดินที่ระดับลึก กรณีที่จะต้องใช้เสาเข็มได้แก่ เมื่อชั้นดินระดับตื้นไม่สามารถรับน้้าหนักของอาคารได้ หรือเกิดได้ก็มีการทรุดตัวมากเกินไปเมื่อมีน้้าหนักของอาคารกดทับ จึงต้องใช้เสาเข็มในการถ่ายน้้าหนักของอาคารลงสู่ชั้นดินแข็งที่อยู่ในระดับลึก ถ้าชั้นดินแข็งอยู่ลึกมากน้้าหนักจะถ่ายลงสู่ดินในรูปของแรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็มเมื่อโครงสร้างจะต้องรับแรงทางด้านข้าง หรือมีโมเมนต์ดัดจากโครงสร้างส่วนบน เสาเข็มอาจจะต้องถูกออกแบบให้รับได้ทั้งแรงในแนวดิ่งและโมเมนต์ ซึ่งโครงสร้างส่วนใหญ่ในกรณีนี้จะเป็น ก้าแพงกันดิน (Retaining wall) หรือโครงสร้างที่ต้องรับแรงลม หรือแรงเนื่องจากแผ่นดินไหวเมื่อโครงสร้างจะต้องก่อสร้างบน Expansive soil หรือ Collapsible soil…
จับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่ม คืออะไร
การจับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่มเป็นกรรมวิธีจัดเตรียมระดับ-ระยะก่อนการฉาบปูน ลักษณะเป็นปุ่มปูนทรายที่แสดงถึงแนวสันของผนัง หรือ มีระนาบแบนให้เห็นความหนาของผิวปูนที่จะฉาบลงไป การฉาบปูนที่ถูกกรรมวิธี ช่างปูนจะต้องจับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่มก่อนที่จะ ฉาบปูน เสมอ หากท่านเห็นว่าช่างปูนใดฉาบผนังบ้านท่านโดยไม่ทำเซี้ยม-ฉาก-ปุ่มเสียก่อน ก็น่าจะบอก ผู้ก่อสร้าง ให้เปลี่ยน ช่างปูนได้แล้วการก่ออิฐที่ถูกกรรมวิธีนั้นจะต้องดำเนินการดังนี้ อิฐจะต้องชุปน้ำให้ชุ่มน้ำเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอิฐจะดูดซึมน้ำปูน จนปูนก่อไม่ทำหน้าที่ยึดเกาะที่ดีการก่ออิฐจะต้องไม่ก่อสูงมากนักในทีเดียว…
รู้หรือไม่ว่าการวางแนวรั้วหน้าบ้าน กับการวางแนวรั้วข้างบ้านต่างกันอย่างไร ?
รั้วข้างบ้านส่วนใหญ่จะติดต่อกับเพื่อนบ้าน ดังนั้นการทำรั้วก็จะวางแนวกึ่งกลางรั้วไว้ที่แนวแบ่งเขตที่ดิน(จากกึ่งกลางหลักเขต ถึงกึ่งกลางหลักเขต) ซึ่งทำให้รั้ว อยู่ในเขตเราครึ่งหนึ่ง และอยู่ในเขตบ้านข้างเคียง อีกครึ่งหนึ่ง แต่รั้วหน้าบ้าน มักจะต้องติดกับทางสาธารณะ การวางแนวรั้ว จะต้องวางให้ ขอบรั้วด้านนอก อยู่ในแนวของเขตที่ดิน (ห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่ง ของสิ่งปลูกสร้าง ล้ำเข้าไปใน ที่สาธารณะโดยเด็ดขาด) สร้างรั้วบ้านอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย ในการสร้างรั้วแบ่งเป็นสองลักษณะคือ 1.รั้วที่สร้างติดแนวที่หรือถนนสาธารณะ …
เชื่อหรือไม่ คุณน่าจะเลือกโถส้วมก่อนการสร้างบ้าน ?
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องจริง เพราะสุขภัณฑ์ในบ้านเรา ต่างยี่ห้อกันแล้ว จุดหรือระยะการวางท่อ เข้าสู่สุขภัณฑ์ ก็แตกต่างกันออกไปด้วย จึงขอแนะนำว่าคุณน่าจะเลือกยี่ห้อสุขภัณฑ์ (รุ่นเอาไว้ทีหลัง ยังได้) เสียก่อนที่เขาจะเทพื้นคอนกรีต เพื่อผู้ก่อสร้าง จะได้เตรียมวางท่อไว้ให้ถูกจุด บ้านคุณจะได้ไม่มีปัญหา เรื่องรั่วซึมจากห้องน้ำ หรือปัญหาสุขภัณฑ์ ใช้ไม่ได้ไงครับ บ้านคุณน่าจะมีถังเก็บน้ำไว้แน่ ๆ แต่ทราบไหมว่า คุณน่าจะซื้อถังเก็บน้ำขนาดไหน?…
เรื่อง ส้วม ส้วม
ปัญหาเรื่องส้วมเป็นปัญหายอดฮิตของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดมักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง,กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็ม บ่อยมาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า 10 ครั้ง ก็ยังไม่หาย …. ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้ : โถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าบ่อเกรอะ ทำให้ระยะลาดของท่อส้วมไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำ จะไหลย้อนกลับมามีมากท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและราดส้วมไม่ลง…
ทำไม้แบบ เขาให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันเท่าไร จึงยังไม่อันตราย
หลายครั้งที่มีการขัดแยังกันระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้าง และคนควบคุมงาน (ซึ่งอาจจะรวมไปถึ งเจ้าของโครงการด้วย) เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้าง วางขนาดไม้แบบผิดพลาด (หรือหล่อคอนกรีต ออกมาแล้ว เห็นความผิดพลาด ) ซึ่งในชีวิตจริง การที่จะจะเตรียมไม้แบบทุกอย่าง ไม่ให้ผิดพลาดเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ผิด (กันจนเพลิน) ก็เป็นอันตราย ต่อระบบโครงสร้างแน่นอน เรื่องนี้ ทางวิศวกรรมสถานฯ…