News

รวมบทความ เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องก่อสร้างที่

เครื่องมือสำหรับงานก่อสร้าง

เครื่องมือสำหรับงานก่อสร้าง

adminSep 15, 20236 min read

งานก่อสร้างอาคารนอกจากฝีมือของช่างผู้ที่ปฏิบัติงานก่อสร้างอาคารแล้วเครื่องมือก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน งานก่อสร้างอาคารมีช่างหลายสาขาประกอบกันอยู่ เช่น ช่างไม้แบบ ช่างไม้ โครงสร้าง ช่างปูน ช่างเหล็กเสริมคอนกรีต ช่างเชื่อมเหล็กโครงสร้างฯ จึงได้แบ่งเครื่องมือที่ใช้ในงาน ก่อสร้างอาคารเป็น 3 ประเภทดังนี้ เครื่องมือประจำงานก่อสร้างเป็นเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ มีราคาแพงหรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่วนรวม มีการแตก หักชำรุดเสียหายง่าย ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้จัดหาไว้ให้ช่าง และคนงานเบิกใช้ในงานก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องมือนี้  ผู้รับจ้างจะต้องคิดเผื่อไว้ในแต่ละงานและสะสมเครื่องมือ  และทำการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือให้พร้อมใช้งานตลอด เครื่องมือประจำงานก่อสร้างที่ควรมีไว้ใช้ ควรมี ดังนี้ เครื่องสูบน้ำในงานก่อสร้างจำเป็นต้องมีเครื่องสูบน้ำไว้ใช้ เพื่อใช้ในการสูบน้ำมาใช้ ในการก่อสร้าง หรือสูบน้ำออกจากบริเวณที่ทำการก่อสร้าง กรณีที่ฝนตก หรือมีน้ำท่วมในบริเวณ ที่จะทำงาน เครื่องสูบน้ำมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมนำมาใช้กันมากเป็นเครื่องสูบน้ำแบบไดโวใช้ไฟฟ้า เป็นเครื่องสูบน้ำที่สามารถยกได้ด้วยคนเดียว มีขนาดกะทัดรัด เมื่อเสียบไฟฟ้าเครื่องจะเดินและสูบน้ำ ได้ ซึ่งมีขนาด 2- 3 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของท่อ เครื่องที่ผลิตจากโรงงานจะป้องกันไฟฟ้ารั่วได้เป็น อย่างดี แต่เครื่องที่เสียแล้วนำไปซ่อม อาจจะใช้งานได้ไม่ดีเพราะอาจมีไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจรทำ ให้เสียชีวิตได้ เครื่องโม่ผสมคอนกรีตในงานก่อสร้างทั่วไปจะต้องมีเครื่องโม่คอนกรีตไว้ใช้ในการ ผสมคอนกรีต ใช้ปูนซีเมนต์ 1 ถุง ( 50 กิโลกรัม) ผสมกับวัสดุมวลคละ จะเต็มโม่พอดี เครื่องโม่ จะหมุน เพื่อผสมส่วนผสมคอนกรีตให้เข้ากัน ใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที เครื่องโม่ที่นิยมใช้กันอยู่มี 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่ใช้เครื่องยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนตัวโม่…

อย่าเปลี่ยนพื้นห้องแถวชั้นล่างให้เป็น Slab on Beam

อย่าเปลี่ยนพื้นห้องแถวชั้นล่างให้เป็น Slab on Beam

adminOct 24, 20221 min read

กว่า 99.99% ของห้องแถวในประเทศไทย พื้นชั้นล่างจะเป็น Slab on Ground คือพื้นชั้นล่าง ถ่ายน้ำหนัก ของพื้น ลงบนดินโดยตรง (เวลาดินทรุดพื้นห้องก็ทรุดตาม เกิดอาการแอ่นและแตกร้าว) แต่คุณก็อย่าดัน ไปทุบ พื้นเก่าทิ้ง แล้วหล่อพื้นขึ้นใหม่ ให้พื้นไปวางบนคาน (Slab on Beam) เพื่อป้องกันทรุด เชียวนา เพราะทั้งคาน- ตอม่อ- ฐานราก- เสาเข็ม ไม่ได้เตรียมตัวสำหรับน้ำหนักโครงสร้าง-น้ำหนักจร (Life Load & Dead Load) ไว้ อาจทำให้ อาคารคุณวิบัติเอาง่าย ๆ (แล้วชวนห้องอื่นเขาวิบัติตาม เพราะโครงสร้างห้องแถวนั้น ต่อเนื่องกันทุก…

micropile foundation

ฐานรากเสาเข็ม

adminOct 20, 20223 min read

เสาเข็มนับว่าเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างที่สัมผัสดินโดยตรง เสาเข็มจะท้าหน้าที่ถ่ายน้้าหนักของอาคารลงสู่ดินที่ระดับลึก กรณีที่จะต้องใช้เสาเข็มได้แก่ เมื่อชั้นดินระดับตื้นไม่สามารถรับน้้าหนักของอาคารได้ หรือเกิดได้ก็มีการทรุดตัวมากเกินไปเมื่อมีน้้าหนักของอาคารกดทับ จึงต้องใช้เสาเข็มในการถ่ายน้้าหนักของอาคารลงสู่ชั้นดินแข็งที่อยู่ในระดับลึก ถ้าชั้นดินแข็งอยู่ลึกมากน้้าหนักจะถ่ายลงสู่ดินในรูปของแรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็มเมื่อโครงสร้างจะต้องรับแรงทางด้านข้าง หรือมีโมเมนต์ดัดจากโครงสร้างส่วนบน เสาเข็มอาจจะต้องถูกออกแบบให้รับได้ทั้งแรงในแนวดิ่งและโมเมนต์ ซึ่งโครงสร้างส่วนใหญ่ในกรณีนี้จะเป็น ก้าแพงกันดิน (Retaining wall) หรือโครงสร้างที่ต้องรับแรงลม หรือแรงเนื่องจากแผ่นดินไหวเมื่อโครงสร้างจะต้องก่อสร้างบน Expansive soil หรือ Collapsible soil ซึ่งมีความหนามาก Expansive soil จะพองตัวเมื่อความชื้นในดินเพิ่มขึ้น ถ้าใช้ฐานรากแบบตื้นจะท้าให้โครงสร้างเกิดความเสียหายได้ จึงต้องใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายน้้าหนักลงสู่ชั้นดินที่ไม่มีการพองตัวในกรณีที่โครงสร้างมีแรงถอนเกิดขึ้นเช่นโครงสร้างเสาส่งไฟฟูาหรือ อาคารห้องใต้ดินที่มีจมอยู่ใต้ระดับน้้าใต้ดินซึ่งจะมีแรงลอยตัวกระท้า ท้าให้ต้องใช้เสาเข็มยึดโครงสร้างไว้เพื่อต้านทานแรงถอนเสาเข็มของสะพานซึ่งการไหลของน้้าอาจกัดเซาะดินที่ท้องน้้า จึงต้องใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายน้้าหนักสะพานลงสู่ชั้นดินที่น้้ากัดเซาะลงไปไม่ถึง เปรียบเทียบระหว่างหน่วยแรงใต้ฐานรากตื้นกับหน่วยแรงใต้ฐานรากเสาเข็ม (Tomlinson 1995) ความแตกต่างของฐานรากตื้น แบบแผ่ และฐานรากเสาเข็ม เสาเข็มกลุ่มซึ่งรับแรงในแนวแกน แรงทางด้านข้าง และโมเมนต์ดัดร่วมกัน เสาเข็มที่ใช้เป็นรองรับโครงสร้างสะพานข้ามแม่น้้า การจำแนกชนิดของเสาเข็ม…

จับเซี๊ยม จับปุ่ม

จับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่ม คืออะไร

adminSep 30, 20223 min read

การจับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่มเป็นกรรมวิธีจัดเตรียมระดับ-ระยะก่อนการฉาบปูน ลักษณะเป็นปุ่มปูนทรายที่แสดงถึงแนวสันของผนัง หรือ มีระนาบแบนให้เห็นความหนาของผิวปูนที่จะฉาบลงไป การฉาบปูนที่ถูกกรรมวิธี ช่างปูนจะต้องจับเซี้ยม จับฉาก จับปุ่มก่อนที่จะ ฉาบปูน เสมอ หากท่านเห็นว่าช่างปูนใดฉาบผนังบ้านท่านโดยไม่ทำเซี้ยม-ฉาก-ปุ่มเสียก่อน ก็น่าจะบอก ผู้ก่อสร้าง ให้เปลี่ยน ช่างปูนได้แล้วการก่ออิฐที่ถูกกรรมวิธีนั้นจะต้องดำเนินการดังนี้ อิฐจะต้องชุปน้ำให้ชุ่มน้ำเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอิฐจะดูดซึมน้ำปูน จนปูนก่อไม่ทำหน้าที่ยึดเกาะที่ดีการก่ออิฐจะต้องไม่ก่อสูงมากนักในทีเดียว จะต้องทิ้งไว้ให้ปูนก่อยุบตัวลงมาแล้วจึงก่อต่อไปจนหมด และทิ้งช่องว่างระหว่างผนังกับท้องพื้นด้านบนไว้หน่อยก็จะยิ่งดี ภายหลังเมื่อผนังทรุดตัวดีแล้วจึงก่ออิฐก้อนสุดท้ายได้เมื่อก่ออิฐเสร็จแล้วต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วันให้ผนังอยู่ตัว และความร้อนจากปูนก่อเย็นลง จึงเริ่มจับเซี้ยมจับฉากจับปุ่ม แล้วฉาบปูนการฉาบปูนต้องมีส่วนผสมที่ดี และน่าผสมน้ำยาเคมีประสานพิเศษกันแตกและห้ามฉาบปูนหนาเกินไป เพราะความร้อนของปูนชั้นในจะระเหยดันออกมายังชั้นนอก และทำให้ปูนฉาบนั้นแตกได้การฉาบปูนที่ดี ไม่น่าใช้ฟองน้ำที่แห้งเกินไป เพราะจะดูดน้ำปูนออกจากปูนฉาบ หากมีงบประมาณเพียงพอ น่าให้ใช้วิธี “ปั่นแห้ง” ซึ่งช่างประเภทนี้กำลังจะหมดจากประเทศไทยเราแล้วหากผิวปูนฉาบมีรอยแตกคล้ายลายงา ไม่ใช่เรื่องที่คอขาดบาดตาย ทิ้งเอาไว้สักพักแล้วใช้ทีทาแต่ง (โป๊ว)…

แนวรั้วบ้าน

รู้หรือไม่ว่าการวางแนวรั้วหน้าบ้าน กับการวางแนวรั้วข้างบ้านต่างกันอย่างไร ?

adminSep 26, 20222 min read

รั้วข้างบ้านส่วนใหญ่จะติดต่อกับเพื่อนบ้าน ดังนั้นการทำรั้วก็จะวางแนวกึ่งกลางรั้วไว้ที่แนวแบ่งเขตที่ดิน(จากกึ่งกลางหลักเขต ถึงกึ่งกลางหลักเขต) ซึ่งทำให้รั้ว อยู่ในเขตเราครึ่งหนึ่ง และอยู่ในเขตบ้านข้างเคียง อีกครึ่งหนึ่ง แต่รั้วหน้าบ้าน มักจะต้องติดกับทางสาธารณะ การวางแนวรั้ว จะต้องวางให้ ขอบรั้วด้านนอก อยู่ในแนวของเขตที่ดิน (ห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่ง ของสิ่งปลูกสร้าง ล้ำเข้าไปใน ที่สาธารณะโดยเด็ดขาด) สร้างรั้วบ้านอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย ในการสร้างรั้วแบ่งเป็นสองลักษณะคือ 1.รั้วที่สร้างติดแนวที่หรือถนนสาธารณะ  รั้วที่สร้างต้องอยู่บนที่ดินของตัวเองเท่านั้น ห้ามมีส่วนใดของรั้วยื่นล้ำออกไปแนวเขตที่สาธารณะ รวมถึงส่วนของฐานรากก็ไม่สามารถยื่นออกไปแนวเขตสาธารณะได้เช่นกัน และความสูงของรั้วต้องไม่เกิน 3 เมตร วัดจากระดับความสูงของที่สาธารณะ  (ในเขตกรุงเทพฯถ้าถนนกว้างไม่เกิน 6เมตร สามารถสร้างรั้วสูงได้ไม่เกิน 2 เมตร) ถ้าหากความสูงของรั้วสูงเกิน 3 เมตร ต้องถอยแนวรั้วเข้ามาในที่ของตนเองให้เท่ากับแนวความสูงของรั้ว เช่นถ้ารั้วเราสูง 3.5 เมตร ต้องถอยแนวรั้วเข้ามาในที่ดินของเราอีก…

Scroll to top