ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท

ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท

เมื่อต้องเลือกใช้งานเสาเข็มเพื่อสร้าง หรือต่อเติมบ้าน ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำแนะนำเลือกใช้ “เสาเข็มไมโครไพล์” ซึ่งต้องยอมรับว่าบางคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้น การได้ศึกษาทำความรู้จักว่าคือเสาเข็มอะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภทจึงไม่อาจมองข้ามได้ เพื่อการพิจารณาเลือกใช้งานที่ตอบโจทย์

เสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร?

เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มที่ได้นวัตกรรมทางวิศวกรรมเข้าช่วย อาศัยความแข็งแรงในการสร้างรากฐานให้กับบ้าน ป้องกันการทรุดตัว ซึ่งจะมีการใช้ปั้นจั่นพิเศษตอกเสาเข็มนี้ลงไป สิ่งที่น่าสนใจคือการที่เราสามารถเลือกใช้งานได้กับทุกสภาพพื้นที่ ตอกชิดผนัง หรือกระจกได้ พื้นที่แคบเข้าไปได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหา เสียงเบามาก ไม่จำเป็นต้องขนดินไปทิ้งเพราะดินกระจายออกมาน้อยมาก การผลิตเสาเข็มชนิดนี้จะใช้วิธีหล่อแบบพิเศษที่ทำให้เนื้อคอนกรีตหนาแน่น และสูงกว่าการหล่อแบบธรรมดา รับน้ำหนักได้มากกว่า 10 – 55 ตัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเสาเข็มนี้ด้วย

เสาเข็มไมโครไพล์มีให้ใช้งานกี่ประเภท?

โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มไมโครไพล์จะมีให้ใช้งานด้วยกันหลัก ๆ แล้ว 3 ประเภท ได้แก่

  1. เสาเข็มรูปตัวไอ หรือ I micropile

จะเป็นเสาเข็มที่มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ I โดยความยาวจะอยู่ที่ท่อนละ 1.5 เมตร จะมีการเทคอนกรีตลงไปในแบบเพื่อหล่อ แล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีตมาเพิ่มความหนาให้กับเสามีมากขึ้น

 

 

 

  1. เสาเข็มเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง หรือ Spun micropile

หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ที่จะมีรูปทรงกระบอกอยู่ทรงกลาง ขนาดความยาวจะอยู่ที่ท่อนละ 1.5 เมตร กรรมวิธีการผลิตนั้นจะต้องใช้เครื่องปั่นแรงเหวี่ยงซึ่งจะเทคอนกรีตลงไป เพื่อให้คอนกรีตหุ้มโครงเหล็ก และเนื้อมีความหนาแน่นมากกว่าชนิดอื่น จึงค่อนข้างได้รับความนิยมเลือกใช้งาน

 

 

 

  1. เสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม หรือ Square micropile

มีจะลักษณะรูปหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมตัน โดยที่จะมีขนาดท่อนละ 1.5 เมตร โดยที่จะมีการเทคอนกรีตลงใยเครื่องจี้คอนกรีต เป็นการเสริมความหนาแน่นให้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

สำหรับการตอกเสาเข็มไมโครไพล์จะมีการใช้ปั้นจั่นพิเศษที่ขนาดเล็ก โดยจะเชื่อมไฟฟ้าเชื่อมต่อกันไปจนตอกแล้วไม่ลงอีก โดยจะมีการคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็มเอาไว้ก่อนแล้ว ตามระยะยกลูกตุ้ม ขนาดหน้าตัดของเสาเข็ม ความลึกของเสาเข็ม น้ำหนักของลูกตุ้ม และ Blow Count ในการคำนวณ การรับน้ำหนักส่วนใหญ่วิศวกรจะใช้สูตร Danish’s Formular ที่จะมีน้ำหนักไม่มาก ประมาณ 1.2 ตันขึ้นไป และสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มประเภทอื่น

ส่วนใครที่มีความสนใจอยากหาแหล่งให้บริการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยด้วยช่างผู้มากประสบการณ์ มีประเภทเสาให้เลือกมากมาย ขนาดเยอะ รองรับได้ทุกน้ำหนัก แนะนำเป็นที่ บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัดเลย รับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวัง ได้งานดีมีคุณภาพอยู่บ้านกันไปยาว ๆ

ทำความรู้จักเสาเข็มไมโครไพล์คืออะไร แล้วมีให้ใช้งานกี่ประเภท

Leave a Reply

Scroll to top