News

รวมบทความ เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องก่อสร้างที่

สุขภัณฑ์ชักโครก

เชื่อหรือไม่ คุณน่าจะเลือกโถส้วมก่อนการสร้างบ้าน ?

adminSep 20, 20222 min read

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องจริง เพราะสุขภัณฑ์ในบ้านเรา ต่างยี่ห้อกันแล้ว จุดหรือระยะการวางท่อ เข้าสู่สุขภัณฑ์ ก็แตกต่างกันออกไปด้วย จึงขอแนะนำว่าคุณน่าจะเลือกยี่ห้อสุขภัณฑ์ (รุ่นเอาไว้ทีหลัง ยังได้) เสียก่อนที่เขาจะเทพื้นคอนกรีต เพื่อผู้ก่อสร้าง จะได้เตรียมวางท่อไว้ให้ถูกจุด บ้านคุณจะได้ไม่มีปัญหา เรื่องรั่วซึมจากห้องน้ำ หรือปัญหาสุขภัณฑ์ ใช้ไม่ได้ไงครับ บ้านคุณน่าจะมีถังเก็บน้ำไว้แน่ ๆ แต่ทราบไหมว่า คุณน่าจะซื้อถังเก็บน้ำขนาดไหน? ต้องถามก่อนว่าบ้านคุณมีกี่คน คนหนึ่งคนจะใช้น้ำประมาณ 200 ลิตร ต่อวัน หากบ้านคุณมี 5 คน และต้องการ เก็บน้ำ ไว้เผื่อใช้ สัก 3 วัน ก็คำนวณได้ว่าถังน้ำจะมีขนาด = จำนวนคน x 200 ลิตร x 3 วัน = 5 x 200 x 3 = 3,000 ลิตร = 3 ลบ.ม. ทั้งนี้ไม่รวมน้ำที่ใช้รดต้นไม้ และสวนขนาดใหญ่นะครับ (สวนเล็ก ๆ และต้นไม้ไม่มากไม่เป็นไร เพราะเผื่อไว้แล้ว) ซื้อสุขภัณฑ์ (Fixture) แล้วอย่าลืมเลือกอุปกรณ์ (Fitting) ด้วย เครื่องสุขภัณฑ์ต่าง ๆ (Sanitary Fixture)…

ส้วม

เรื่อง ส้วม ส้วม

adminSep 14, 20225 min read

ปัญหาเรื่องส้วมเป็นปัญหายอดฮิตของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดมักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง,กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็ม บ่อยมาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า 10 ครั้ง ก็ยังไม่หาย …. ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้ : โถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าบ่อเกรอะ ทำให้ระยะลาดของท่อส้วมไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำ จะไหลย้อนกลับมามีมากท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง ราดลง บางครั้งราดไม่ลงลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง เพราะน้ำที่ราด ไม่สามารถ เข้าไปแทนที่อากาศได้หากเป็นระบบบ่อซึม ที่วางไว้ในดินที่มีความชุ่มชื้นมาก แทนที่น้ำจากบ่อเกรอะ บ่อซึมจะซึมไหลออก กลับกลายเป็น น้ำซึมเข้า ปัญหาที่ตามมาคือ ส้วมเต็มบ่อย และราดน้ำไม่ลงขนาดบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป (ในการก่อสร้างผู้ออกแบบจะกำหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ ให้มีขนาด เหมาะสม กับ จำนวนคน…

ไม้แบบ ความคลาดเคลื่อน

ทำไม้แบบ เขาให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันเท่าไร จึงยังไม่อันตราย

adminSep 11, 20222 min read

หลายครั้งที่มีการขัดแยังกันระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้าง และคนควบคุมงาน (ซึ่งอาจจะรวมไปถึ งเจ้าของโครงการด้วย) เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้าง วางขนาดไม้แบบผิดพลาด (หรือหล่อคอนกรีต ออกมาแล้ว เห็นความผิดพลาด ) ซึ่งในชีวิตจริง การที่จะจะเตรียมไม้แบบทุกอย่าง ไม่ให้ผิดพลาดเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ผิด (กันจนเพลิน) ก็เป็นอันตราย ต่อระบบโครงสร้างแน่นอน เรื่องนี้ ทางวิศวกรรมสถานฯ ได้มีมาตรฐาน ไว้ดังต่อไปนี้ คลาดเคลื่อนแนวดิ่งในแต่ละชั้น= 10 mm.คลาดเคลื่อนจากระดับหรือแนวลาดในช่วง 10 เมตร= 15 mm.คลาดเคลื่อนจากแนวอาคารที่กำหนดในแบบ และ ตำแหน่งฝาผนังและฝาประจันที่เกี่ยข้องในช่วง 10 เมตร= 20 mm.คลาดเคลื่อนของขนาดหน้าตัดเสา-คาน-พื้น-ผนัง= 5.+10 mm.ไม้แบบคลาดเคลื่อนในฐานรากตำแหน่งฐานรากผิดหรือเฉศูนย์คลาดเคลื่อนความหนาฐานราก= 20.+50 mm.= 50…

บันได

บันไดที่ดีน่าจะกว้างเท่าไร สูงเท่าไร?

adminSep 9, 20223 min read

หากไม่ว่ากันตามตัวบทกฎหมาย แต่ว่ากันตามความสบาย และความที่น่าจะเป็น บันไดน่าจะมีสัดส่วน ดังนี้ : ชนิดของอาคารกว้างไม่น้อยกว่า(เมตร)ลูกตั้งสูงไม่เกิน(เซนติเมตร)ลูกนอนไม่น้อยกว่า(เซนติเมตร)บ้านพักอาศัย1.0018.0027.00บันไดหลักอาคารใหญ่1.5018.0027.00บันไดรองอาคารใหญ่1.2020.0025.00บันไดหน้าอาคารใหญ่2.0017.0030.00 ออกแบบเขียนแบบบันได อย่าลืมว่า ลูกนอนบริเวณชานพัก จะต้องเยื้องกัน สมัยก่อนการออกแบบส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่ไม่สูงใหญ่มาก ระบบการติดต่อทางตั้ง ก็จะใช้บันได เป็นหลัก แต่เดี๋ยวนี้ อาคารสูงใหญ่เกิดขึ้นมากมาย สถาปนิกจึงมักคำนึงเพียงการใช้ลิฟท์ขนส่งทางตั้ง จนคนรุ่นหลัง ๆ ชักจะ ออกแบบ เขียนแบบ บันไดกันไม่เป็นเสียแล้ว ความผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ การเขียนลูกนอนของบันได บริเวณ ชานพักทั้งขั้น ที่ขึ้นสู่ ชานพัก และขั้นจาก ชานพักสู่ชั้นบน มักจะเขียนแบบให้อยู่ระดับ เสมอกัน…. ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงก็คือ ราวบันได ที่วิ่งจาก ชั้นล่าง สู่ชานพัก และ…

ย้อนเรื่องราวชาวแฟลตดินแดง จากจุดพักขยะมูลฝอย สู่ที่พักผู้มีรายได้น้อยใกล้เมือง

ย้อนเรื่องราวชาวแฟลตดินแดง จากจุดพักขยะมูลฝอย สู่ที่พักผู้มีรายได้น้อยใกล้เมือง

adminAug 19, 20226 min read

เสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อย สำหรับการย้ายที่อยู่อาศัยใหม่ของชาวแฟลตดินแดงอาคาร 18-22 ไปที่คอนโดมิเนียมแปลง G ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงระยะที่ 1 โดยตึกแปลง G นี้จะมีทั้งหมด 28 ชั้น รวมทั้งหมด 334 ยูนิต และในอนาคตก็ยังจะเริ่มดำเนินโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงระยะที่ 2, 3 และ 4 ให้แล้วเสร็จตามลำดับ โดยคาดว่าน่าจะไม่เกินปี 2567 นี้อย่างแน่นอน หากย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่พักขยะมูลฝอยของเทศบาลนครกรุงเทพฯ กับที่โล่งทุ่งนาของเอกชน ซึ่งทางราชการได้เวนคืนมาเมื่อปี พ.ศ. 2485 หลังจากนั้น 10 ปี ช่วงพ.ศ. 2494 กรมประชาสงเคราะห์จึงได้เริ่ม “โครงการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์บริเวณถนนดินแดง” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อย โดยสร้างเป็นบ้านไม้จํานวนหนึ่ง และถัดไปอีก…

Scroll to top