News

รวมบทความ เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องก่อสร้างที่

ช่องว่างระหว่างตัวบ้านกับส่วนต่อเติม เกิดรอยแยกแก้ไขอย่างไร ?

ช่องว่างระหว่างตัวบ้านกับส่วนต่อเติม เกิดรอยแยกแก้ไขอย่างไร ?

adminAug 15, 20223 min read

ปัญหาส่วนต่อเติมบ้านทรุดคือปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดปัญหาหนึ่งเนื่องจากบ้านในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือทาวน์โฮม มักนิยมทำการต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นห้องครัว หรือห้องน้ำ  โดยสาเหตุมาจากการก่อสร้างที่ผิดหลัก กล่าวคือ ไม่ได้แยกโครงสร้างส่วนต่อเติมตัดขาดจากตัวบ้านเดิม (ก่อสร้างติดกัน) ทำให้ส่วนต่อขยายเกิดการยุบตัวของชั้นดินที่มีมากกว่าบ้านเดิมที่ทรุดจนอิ่มตัวแล้ว นึกภาพง่ายๆเมื่ออาคารหนึ่งทรุดจนอิ่มตัวแล้วกับอาคารใหม่ที่เพิ่งเริ่มทรุด มันก็จะเกิดรอยแยกระหว่างสองส่วนเกิดขึ้นนั่นเอง อีกเหตุผลหนึ่งของการทรุดตัวก็คือการใช้เสาเข็มที่มีความลึกของเสาไม่เพียงพอต่อการรับน้ำหนักโครงสร้าง หรือสภาพของดินที่ทำการต่อเติมมีลักษณะนุ่มกว่า ทั้งหมดนี้เป็นที่มาทำให้เกิดการทรุดตัวของส่วนต่อขยาย เกิดเป็นรอยแยกของผนังบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมขึ้น ซึ่งวิธีแก้ไขสามารถทำอะไรได้บ้างวันนี้ Admin มีคำตอบมาฝาก วิธีป้องกันและแก้ปัญหาส่วนต่อขยายทรุด ปัญหาเรื่องการทรุดตัวของห้องส่วนต่อเติม เกิดจากการไม่ได้วางแผนหรือเตรียมโครงสร้างส่วนต่อขยายอย่างถูกต้อง ไม่ได้วางระบบฐานราก หรือเป็นการต่อเติมบ้านบนดินที่เพิ่งถมได้ไม่นาน ทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้ส่วนต่อเติมใหม่เกิดการทรุดตัวไว ตามมาซึ่งรอยแยกหรือรอยฉีกของผนังบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมปรากฎให้เห็น นอกจากดูไม่สวยงามแล้ว ยังไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย เพราะรอยแยกที่เกิดขึ้นมีโอกาสพังถล่มลงมาได้ รวมไปถึงปัญหาน้ำรั่วซึมผ่านรอยแยก หรือแม้กระทั่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานได้อีกด้วย สำหรับบ้านที่มีแพลนก่อสร้างส่วนขยาย เพื่อเลี่ยงการทรุดตัวให้เลือกใช้วิธีก่อสร้างส่วนต่อเติมโดยการแยกโครงสร้างขาดกับตัวบ้านเดิม เพื่อไม่ให้ฐานรากรับน้ำหนักมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามสำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่ทำการก่อสร้างไปแล้ว และกำลังประสบปัญหารอยแยก รอยฉีกของผนังส่วนต่อเติมไม่ต้องกังวลใจไปครับ เพราะวันนี้ Admin มีผลิตภัณฑ์ซ่อมสร้างที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีง่ายๆนั่นก็คือใช้ พียู โฟม โพลียูรีเทน ชนิดสเปรย์โฟม ใช้งานอเนกประสงค์ นั่นเอง พียู โฟม คืออะไร ? พียู โฟม เป็นโฟมสำเร็จรูปใช้งานอเนกประสงค์ ขยายตัวได้ ใช้อุดรูโพรง ช่องว่าง รอยต่อหรือรอยแตกร้าว สำหรับงานก่อสร้าง มีคุณสมบัติพิเศษคือ ยึดเกาะดีเยี่ยมสามารถใช้ได้กับวัสดุหลากหลายประเภท เช่น ปูน คอนกรีต ไม้ กระจก อีกทั้งยังมีความคงทน ไม่แตกร้าว กันเสียงและความร้อนได้ดี ไม่มีส่วนประกอบของสารขับดัน ที่ทำลายชั้นโอโซน นอกจากนี้เนื้อโฟมเมื่อแห้งตัวสามารถตัดแต่งผิวและทาสีทับได้อีกด้วย…

ซื้อบ้านมาแล้วแต่อยากกั้นห้องเพิ่มต้องทำอย่างไร? ใช้ผนังเบาแบบไหนดี

ซื้อบ้านมาแล้วแต่อยากกั้นห้องเพิ่มต้องทำอย่างไร? ใช้ผนังเบาแบบไหนดี

adminAug 12, 20225 min read

หนึ่งในทางเลือกที่นิยมนำมาใช้กั้นห้องเพื่อแบ่งพื้นที่เพิ่มเติมคือการเลือกใช้ “ผนังเบา” เพราะมีน้ำหนักเบาไม่ต้องมีคานรองรับ หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน และมีให้เลือกหลากหลายชนิด ตั้งแต่แผ่นยิปซัม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หรือสมาร์ทบอร์ด ถ้าเช่นนั้นเวลาให้ผู้รับเหมาเข้ามาทำต้องตรวจดูงานอะไรบ้าง ถึงจะทำให้คุณได้ผนังกั้นห้องใหม่ที่สวยถูกใจ เพราะหากได้ช่างไม่เก่งพอ คงได้ผนังบ้านที่น่าหนักใจขึ้นมาแทน จนอาจคิดว่าไม่น่ากั้นห้องเลย อย่ากระนั้นเลย admin มีคำแนะนำในการตรวจงานผนังเบาว่ามีขั้นตอนการดูอย่างไรบ้าง โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ครับ เลือกผนังเบาและตรวจของก่อนติดตั้ง การกั้นห้องต้องระบุกับผู้รับเหมาว่าต้องการกั้นห้องเพื่อใช้ทำเป็นห้องอะไร เพื่อเลือกใช้ผนังเบาที่มีชนิดและความหนาที่เหมาะสม ถ้าเป็นการเสริมผนังอีกชั้นเพื่อทำเป็นผนังกันความร้อนก็จะมีฉนวนอยู่ข้างใน หรือ ต้องการห้องที่เก็บเสียงก็ต้องเลือกแผ่นที่มีความหนามากหน่อย และผนังเบาแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและข้อดีต่างกัน อาทิ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์มีข้อดีที่สามารถทนแดดทนฝนได้จึงเหมาะใช้ภายนอก ส่วนแผ่นยิบซัมนั้นน้ำหนักเบา มีราคาถูกกว่า และมีความเรียบเนียนของผิวแผ่นทำให้ฉาบเก็บรอยได้ดี ตรงนี้ก็อยู่ที่ช่างหรือผู้ออกแบบแนะนำว่าควรเลือกใช้แบบไหน ซึ่งก็ควรจะเหมาะสมกับห้องที่เราต้องการ แต่แน่นอนว่ายิ่งหนายิ่งดี … แต่ก็จะยิ่งแพงครับ เมื่อเลือกผนังเบาได้แล้ว เมื่อช่างไปซื้อของมา ก็ต้องตรวจวัสดุที่ช่างนำมาใช้ว่ามีขนาดและความหนาที่ตรงกับที่คุยกันหรือที่สเปคหรือไม่ ตัวอย่างเช่น แผ่นสมาร์ทบอร์ดจะมีขนาดมาตรฐาน…

ฐานราก เสาเข็ม

วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม

adminAug 9, 20223 min read

สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไรส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจแล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า”ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง”การ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ) แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า1.…

ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์

ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์

adminJul 28, 20223 min read

ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์ ปัจจุบันการเลือกใช้งานเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยม และมีให้เลือกหลากหลาย เช่น เสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม เสาเข็มรูปตัวไอ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ซึ่งแต่ละประเภทต้องบอกก่อนว่ามีทั้งข้อดี  ข้อเสียที่แตกต่าง ก่อนเลือกใช้เพื่อให้ตอบโจทย์ต่องานจึงควรศึกษาอย่างละเอียด ลดความเสี่ยงเกิดปัญหาตามมาได้ ข้อดี – ข้อเสียของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละประเภท ความโดดเด่นของเสาเข็มสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านนั้น “ไมโครไพล์” ได้รับไปแบบเต็ม ๆ ด้วยขนาดที่เล็ก สามารถใช้งานในพื้นที่แคบได้ เสียงตอกเบา แรงสะเทือนน้อยไม่เป็นที่รำคาญของเพื่อนบ้าน เพราะมีการตอกด้วยระบบไฮดรอลิกโดยได้วิศวกรมาคำนวณแล้ว นอกจากนี้ การต่อเสาก็ยังเชื่อด้วยส่วนหัวและท้ายระหว่างท่อ แน่นอนว่าแต่ละประเภทมีทั้งข้อดี  ข้อเสีย เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ประเภทแรกนี้จะผลิตต่างจากประเภทอื่น ๆ เพราะมีการใช้แรงเหวี่ยงเพื่ออัดคอนกรีตแข็งหนาแน่น แล้วเกิดเป็นหน้าตัดวงกลม มีรูตรงกลาง มีเหล็กอยู่ภายในเสาเพิ่มความแข็งแรง โดยความยาวของแต่ละท่อนจะอยู่ที่ 1 –…

ไมโครไพล์

ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด

adminJun 6, 20223 min read

ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด เสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างบ้าน ซึ่งปัจจุบันเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยมใช้งาน ทว่าการสร้างบ้านด้วยเสาเข็มประเภทนี้ต้องมีการตอกด้วยความลึกที่เหมาะสม ไม่ทำให้ตัวเสาร้าว หรือเกิดปัญหาบ้านทรุดได้ แล้วความลึกของเสาควรต้องอยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือการศึกษาข้อมูลสร้างความเข้าใจให้ตัวเองอย่างลึกซึ้ง เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่มากดทับได้จากแรงกระทำหลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม หรือ End Bearing ที่จะเกิดขึ้นอยู่ส่วนปลายเข็ม ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นมาจากพื้นดินที่ช่วยรองรับส่วนปลาย ทั้งนี้ แรงจะมีน้ำหนักมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับประเภทของดินที่มีแตกต่างกัน แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็มได้รับ หรือ Skin Friction ที่จะเกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มไมโครไพล์ และดินที่อยู่รอบ ๆ โดยที่ขึ้นอยู่กับผิวดินอีกเช่นกันว่าจะทำให้เกิดแรงขึ้นมามากหรือน้อย รวมถึงลักษณะของเสาแต่ละประเภทด้วย การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ควรมีความลึกที่เท่าไหร่? โดยทั่วไปแล้วการสร้างบ้านจะต้องขึ้นอยู่กับเสาเข็มที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่าง ซึ่งควรต้องมีการตอกที่ลึกจนถึงชั้นดินแข็งเฉลี่ยแล้วประมาณ 21 เมตร…

Scroll to top