ตำแหน่งของหลุมเจาะและความลึกของหลุม

ในการเลือกตำแหน่งของหลุมเจาะ ถ้าชั้นดินไม่สม่ำเสมอนักอาจต้องทำการเจาะสำรวจให้ใกล้เคียงกับตำแหน่งของฐานรากมากที่สุด ถ้าในขณะที่จะทำการเจาะสำรวจยังไม่มีการวางตำแหน่งโครงสร้าง ตำแหน่งของหลุมเจาะควรจะครอบคลุมบริเวณทั้งหมด จำนวนหลุมเจาะที่จะต้องเจาะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่นความสม่ำเสมอของชั้นดิน ถ้าชั้นดินสม่ำเสมอการเจาะหลุมเจาะเพียงไม่กี่หลุมก็อาจเพียงพอแล้ว แต่ถ้าชั้นดินไม่มีความสม่ำเสมออาจจะต้องเจาะหลุมเจาะมากขึ้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเจาะเมื่อเปรีบยเทียบกับมูลค่าของโครงการ โครงการมูลค่าไม่สูงมากนัก ถ้าทำการเจาะสำรวจและทดสอบปริมาณน้อยแต่ใช้ Factor safety สูงขึ้นก็อาจประหยัดกว่า แต่ถ้าเป็นโครงการที่มีมูลค่าโครงการสูงการเจาะสำรวจและทดสอบมากขึ้นจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ราคาของฐานรากลดลงอย่างมาก สำหรับโครงการทั่วๆ ไปในชั้นดินที่ไม่ซับซ้อนและพอจะทราบข้อมูลชั้นดินมาบ้างจะเจาะหลุมเจาะประมาณ 2 หลุม ถ้าเป็นไปได้ควรจะเจาะ 3 หลุม เพื่อแสดงรูปตัดชั้นดินได้ทั้งสองแนว

แนวทางการวางตำแหน่งหลุมเจาะโดยทั่วไป (a) อาคารหลายชั้น (b) อาคารโรงงาน (c) พื้นที่ขนาดใหญ่ที่ยังไม่ได้กำหนดตำแหน่างอาคาร (Tomlinson 1995)

สำหรับความลึกของการเจาะจะต้องพิจารณาจากผลของแรงที่จากฐานรากลงสู่ดินว่ามีผลกระทบลงไปลึกเท่าใด ตัวอย่างเช่น ในกรณีของฐานรากแผ่ที่ผิวดิน แรงดันดินที่ความลึก 1.5 เท่าของความกว้างของฐานรากยังมีค่าประมาณ 20% ดังนั้นความลึกของหลุมเจาะน่าจะลึกกว่า 1.5 เท่าของความกว้างของฐานราก แต่ต้องพิจารณาว่ามีชั้นดินอ่อนอื่นๆ อยู่ใต้ชั้นดินแข็งหรือไม่ถ้าเป็นไปได้ควรจะเจาะสำรวจจนถึงชั้นดินที่แข็งเพียงพอ แนวทางการกำหนดความลึกของหลุมเจาะในรูปที่ 1

วิธีกำหนดความลึกหลุมเจาะสำหรับฐานรากอาคารโครงสร้างชนิดต่างๆ (Tomlinson 1995)
ตำแหน่งของหลุมเจาะและความลึกของหลุม

Leave a Reply

Scroll to top