งานฐานรากสำหรับอาคารที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น

โรงแรมเพรสซิเดนท์

ความรู้ทางด้านวิศวกรรมฐานรากนั้นได้ถูกปรับปรุงอยูาเสมอ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่ของมนุษย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด จากในอดีตที่ฐานรากมักเป็นฐานรากแผ่ หรือฐานรากที่เป็นเสาเข็มแบบที่ต้องใช้ลูกตุ้มตอกลงไปในดิน ได้ถูกพัฒนาจนมาเป็นเสาเข็มเจาะที่มีกำลังรับน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น เสาเข็มเจาะได้ถูกใช้เป็นฐานรากของโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่บางกรวยเมื่อปี พ.ศ. 2505 และต่อจากนั้นได้มีการนำวิธีการก่อสร้างเสาเข็มเจาะแบบต่างๆ มาใช้ก่อสร้างเสาเข็ม อาทิเช่นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการใช้เสาเข็มเจาะระบบเวียนกลับ (Reverse circulation) ในการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และได้มีการนะระบบ Continuous flight auger มาใช้ก่อสร้างโรงแรมเพรสซิเดนท์ เป็นต้น

     หลังจากปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาได้มีการนำเข้าเครื่องจักรก่อสร้างเสาเข็มเจาะแบบ Rotary drilling ที่พบเห็นโดยทั่วไปในงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่มาใช้ และจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการพัฒนาการออกแบบและก่อสร้างให้เสาเข็มมีกำลังต้านทานน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น
     ในปัจจุบันได้มีการใช้ฐานรากเสาเข็มเจาะเพื่อรองรับน้ำหนักของอาคารและโครงสร้างกันอย่างแพร่หลายขึ้น และมีแนวโน้มที่จะต้องใช้ความรู้ทางด้านการออกแบบและก่อสร้างฐานรากที่ก้าวหน้ามากกว่าปัจจุบัน รูปต่อไปนี้ได้เปรียบเทียบขนาดของเสาเข็มเจาะที่ใช้กับขนาดของคอนโดมิเนียมพื้นที่ 30 ตารางเมตร ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาวิธีการออกแบบและก่อสร้างที่ดีกว่าปัจจุบันก็ได้ ดังนั้นวิศวกรโยธาที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับวิศกรรมฐานรากควรจะต้องเตรียมตัวเพื่อให้มีความพร้อมในการทำงานด้านวิศวกรรมต่อไป

เปรียบเทียบขนาดของเสาเข็มแต่ละชนิดกับห้องขนาด 30 ตารางเมตร
งานฐานรากสำหรับอาคารที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงขึ้น

Leave a Reply

Scroll to top