ไมโครไพล์ หรือ เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) คือเสาเข็มตอกขนาดเล็กมีแรงสั่นสะเทือนน้อยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิมหรืออาคารข้างเคียงแรงสั่นสะเทือนต่ำ ใช้ตอกในพื้นที่จำกัด เช่นการต่อเติมบ้าน อาคาร และโรงงาน ควบคุมการตอกโดยทีมช่างมืออาชีพมากประสบการณ์ ควบคุมดูแลด้วยทีมงานวิศวกร เสาเข็มไมโครไพล์ รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 15-50 ตันต่อต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ลดแรงสั่นสะเทือนขณะทำการตอกและเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่หน้างาน เสาเข็มไมโครไพล์ที่นิยมใช้กับงานตอกเสาเข็มบ้าน อาคาร จะมีลักษณะคล้ายรูปตัวไอ มีความยาวท่อนละ 1.5 เมตร มีทั้งขนาดหน้าตัด 18×18 ซม. (ราคาถูกสุด) และ 22×22 ซม. ซึ่งทางศัพท์ช่างจะเรียกว่า เสาเข็มไอไมโครไพล์ หรือถ้าเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ส่วนมากก็จะนิยมใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ซึ่งศัพท์ช่างที่นิยมกันนั้นจะเรียกได้หลายคำ อาทิเช่น เสาเข็มสปัน, สปันไมโครไพล์,เข็มสปันไมโครไพล์ เป็นต้น
ไมโครไพล์ แบบแรงเหวี่ยง
1. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกตรงกลางกลวง ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูงกว่าเสาเข็มประเภทอื่นๆ และสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเทียบกับขนาดหน้าตัดที่เท่ากัน
ไมโครไพล์ ภาคตัดขวางรูปตัวไอ
2. เสาเข็มไมโครไพล์รูปตัวไอ (i micropile) มีรูปหน้าตัดเป็นรูปตัวไอ (I) ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ผลิตโดยการเทคอนกรีตลงในแบบเสริมด้วยโครงลวดเหล็ก Db9 mm. แล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีต (วายจี้คอนกรีต) เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อคอนกรีต ข้อดีของเสาเข็มหน้าตัดตัวไออยู่ที่เส้นรอบรูปที่มากกว่าเสาเข็มเหลี่ยม ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็ม (Skin Friction) และดินได้มากกว่า จึงทำให้มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น หากติดตั้งในบริเวณที่เป็นชั้นดินตะกอน หรือดินเหนียว จึงนิยมใช้ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงราคาที่ถูกกว่าและน้ำหนักที่น้อยกว่าเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยม
เสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) นี้จะใช้วิธีการตอกแบบพิเศษ โดยใช้ปั้นจั่นขนาดเล็กตอกลงไปและใช้วิธีการต่อเสาเข็มโดยการเชื่อมไฟฟ้าเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ จนตอกไม่ลง แล้วใช้การคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็ม จากขนาดหน้าตัดของเสาเข็ม ระยะยกลูกตุ้ม น้ำหนักของลูกตุ้ม ความลึกของเสาเข็มและ Blowcount มาคำนวณโดยส่วนใหญ่แล้ววิศวกรจะใช้สูตรการคำนวณแบบ Danish’s Formular ขนาดของลูกตุ้ม (Hammer) ที่ใช้ตอกเสาเข็มไมโครไพล์มีน้ำหนักไม่มาก ประมาณ 1.2 ตัน ขึ้นไป ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าเข็มตอกประเภทอื่น สามารถเข้าไปตอกได้ทุกสภาพพื้นที่ เหมาะกับพื้นที่คับแคบหรือมีความสูงไม่มาก เริ่มต้นที่ 2.5 เมตรขึ้นไป ตอกชิดกระจก ผนัง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย สะอาดไม่ต้องขนดินทิ้ง ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์ คลิกเพื่ออ่านต่อ
บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด
โรงงานผลิตและจำหน่ายพร้อมตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (ไมโครไพล์,micropile)
MICRO SPUN PILE SPECIFICATION COMPARISON
ข้อมูลของเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ (SPUN MICROPILE)
Diameter 200 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 20 เซนติเมตร |
น้ำหนักปลอดภัย | 30 – 35 Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
Settlement Per 10Blow | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 5.5 cm. |
จำนวนเหล็ก Dowel | 6 เส้น 9mm. |
เหล็กปลอก | 6mm. |
เหล็กเพลท | 6mm. กว้าง 2 นิ้ว |
Diameter 250 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 25 เซนติเมตร |
น้ำหนักปลอดภัย | 40 – 45 Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
Settlement Per 10Blow | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 5.5 cm. |
จำนวนเหล็ก Dowel | 8 เส้น 9mm. |
เหล็กปลอก | 6mm. |
เหล็กเพลท | 6mm. กว้าง 2 นิ้ว |
Diameter 300 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 30 เซนติเมตร |
น้ำหนักปลอดภัย | 50 – 55 Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
Settlement Per 10Blow | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 6.5 cm. |
จำนวนเหล็ก Dowel | 10 เส้น 9mm. |
เหล็กปลอก | 6mm. |
เหล็กเพลท | 6mm. กว้าง 2 นิ้ว |
Diameter 350 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 35 cm. |
---|---|
น้ำหนักปลอดภัย | 55 – 60 ตัน |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 6.5 cm. |
ขนาดเหล็ก Dowel Bar | 9 mm. |
จานวนเหล็ก Dowel Bar | 10 |
ขนาดเหล็ก Spiral | 6 mm. |
Diameter 400 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 40 cm. |
---|---|
น้ำหนักปลอดภัย | 65 – 70 ตัน |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย | 1-3 mm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 7 cm. |
ขนาดเหล็ก Dowel Bar | 9 mm. |
จานวนเหล็ก Dowel Bar | 10 |
ขนาดเหล็ก Spiral | 6 mm. |
I MICRO PILE SPECIFICATION COMPARISON
ตารางเปรียบเทียบการรับน้ำหนักของเสาเข็มไอไมโครไพล์
ไมโครไพล์ ภาคตัดขวางรูปตัวไอ
เสาเข็มหน้าตัดรูปตัวไอ เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป ประเภทเสาเข็มตัวไอ ผลิตจากคอนกรีตอัดแรงเสริมด้วยโครงลวดเหล็ก Db9 mm. ข้อดีของเสาเข็มหน้าตัดตัวไออยู่ที่เส้นรอบรูปที่มากกว่าเสาเข็มเหลี่ยม ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็ม (Skin Friction) และดินได้มากกว่า จึงทำให้มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น หากติดตั้งในบริเวณที่เป็นชั้นดินตะกอน หรือดินเหนียว จึงนิยมใช้ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงราคาที่ถูกกว่าและน้ำหนักที่น้อยกว่าเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยม
ไมโครไพล์ i18x18 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 274.5 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 89 cm. |
Dowel Bar | 4 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 18 – 25 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | 115 Kg. |
ไมโครไพล์ i26x26 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 489 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 131 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 30 – 35 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – |
ไมโครไพล์ i22x22 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 386 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 109 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 25 – 30 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – |
ไมโครไพล์ i30x30 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 660 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 150 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 35 – 40 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – |
SQUARE MICRO PILE SPECIFICATION COMPARISON
ไมโครไพล์ ภาคตัดขวางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตัน
SQUARE MICRO PILE 22x22cm.
ขนาดหน้าตัดกว้างxยาว 22×22 cm. ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 20-25 Ton/Pile โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็ม square micro pile ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็ม square micro pile โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือ ทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test
- ค่ากำลังอัดคอนกรีต 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ ตามข้อกำหนด มอก. 397-2524
- Spiral มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 6 mm. ยาว 10 เมตร จำนวน 1 เส้น
- Dowel มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 9 mm. จำนวน 8 เส้น
สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้
โทรหาเรา
TEL : 02-159-8480
Mobile : 081-309-7695, 086-413-3962
เครื่องตอกเสาเข็ม (Piling Machine) ชนิด : ไมโครไพล์และเข็มไมโครสปันไพล์
- หน้ากว้าง 1.2 เมตร
- ยาว 4.5 เมตร
- สูง 3 เมตร
- ตุ้มหนัก 1.2 -1.5 ตัน
- ระบบขับเคลื่อน วินซ์และรอก
- เครื่องยนต์ yanmar diesel 15 hp
- หน้ากว้าง 1.8 เมตร
- ยาว 4.5 เมตร
- สูง 3.5 เมตร
- ตุ้มหนัก 1.4 -1.5 ตัน
- ระบบขับเคลื่อน ไฮดรอลิคล้อยาง
- เครื่องยนต์ yanmar diesel 15 hp
Video Update
รีวิวงานต่อเติมบ้าน อาคารสำนักงาน โรงงาน
รวมบทความที่น่าสนใจ
บันไดที่ดีน่าจะกว้างเท่าไร สูงเท่าไร?
หากไม่ว่ากันตามตัวบทกฎหมาย แต่ว่ากันตามความสบาย และความที่น่าจะเป็น บันไดน่าจะมีสัดส่วน ดังนี้ : ชนิดของอาคารกว้างไม่น้อยกว่า(เมตร)ลูกตั้งสูงไม่เกิน(เซนติเมตร)ลูกนอนไม่น้อยกว่า(เซนติเมตร)บ้านพักอาศัย1.0018.0027.00บันไดหลักอาคารใหญ่1.5018.0027.00บันไดรองอาคารใหญ่1.2020.0025.00บันไดหน้าอาคารใหญ่2.0017.0030.00 ออกแบบเขียนแบบบันได อย่าลืมว่า ลูกนอนบริเวณชานพัก จะต้องเยื้องกัน สมัยก่อนการออกแบบส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่ไม่สูงใหญ่มาก ระบบการติดต่อทางตั้ง ก็จะใช้บันได เป็นหลัก แต่เดี๋ยวนี้ อาคารสูงใหญ่เกิดขึ้นมากมาย สถาปนิกจึงมักคำนึงเพียงการใช้ลิฟท์ขนส่งทางตั้ง จนคนรุ่นหลัง ๆ…
ย้อนเรื่องราวชาวแฟลตดินแดง จากจุดพักขยะมูลฝอย สู่ที่พักผู้มีรายได้น้อยใกล้เมือง
เสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อย สำหรับการย้ายที่อยู่อาศัยใหม่ของชาวแฟลตดินแดงอาคาร 18-22 ไปที่คอนโดมิเนียมแปลง G ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงระยะที่ 1 โดยตึกแปลง G นี้จะมีทั้งหมด 28 ชั้น รวมทั้งหมด 334 ยูนิต และในอนาคตก็ยังจะเริ่มดำเนินโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงระยะที่ 2, 3 และ 4 ให้แล้วเสร็จตามลำดับ…
ช่องว่างระหว่างตัวบ้านกับส่วนต่อเติม เกิดรอยแยกแก้ไขอย่างไร ?
ปัญหาส่วนต่อเติมบ้านทรุดคือปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดปัญหาหนึ่งเนื่องจากบ้านในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือทาวน์โฮม มักนิยมทำการต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นห้องครัว หรือห้องน้ำ โดยสาเหตุมาจากการก่อสร้างที่ผิดหลัก กล่าวคือ ไม่ได้แยกโครงสร้างส่วนต่อเติมตัดขาดจากตัวบ้านเดิม (ก่อสร้างติดกัน) ทำให้ส่วนต่อขยายเกิดการยุบตัวของชั้นดินที่มีมากกว่าบ้านเดิมที่ทรุดจนอิ่มตัวแล้ว นึกภาพง่ายๆเมื่ออาคารหนึ่งทรุดจนอิ่มตัวแล้วกับอาคารใหม่ที่เพิ่งเริ่มทรุด มันก็จะเกิดรอยแยกระหว่างสองส่วนเกิดขึ้นนั่นเอง อีกเหตุผลหนึ่งของการทรุดตัวก็คือการใช้เสาเข็มที่มีความลึกของเสาไม่เพียงพอต่อการรับน้ำหนักโครงสร้าง หรือสภาพของดินที่ทำการต่อเติมมีลักษณะนุ่มกว่า ทั้งหมดนี้เป็นที่มาทำให้เกิดการทรุดตัวของส่วนต่อขยาย เกิดเป็นรอยแยกของผนังบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมขึ้น ซึ่งวิธีแก้ไขสามารถทำอะไรได้บ้างวันนี้ Admin มีคำตอบมาฝาก…
ซื้อบ้านมาแล้วแต่อยากกั้นห้องเพิ่มต้องทำอย่างไร? ใช้ผนังเบาแบบไหนดี
หนึ่งในทางเลือกที่นิยมนำมาใช้กั้นห้องเพื่อแบ่งพื้นที่เพิ่มเติมคือการเลือกใช้ “ผนังเบา” เพราะมีน้ำหนักเบาไม่ต้องมีคานรองรับ หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ใช้เวลาติดตั้งไม่นาน และมีให้เลือกหลากหลายชนิด ตั้งแต่แผ่นยิปซัม แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หรือสมาร์ทบอร์ด ถ้าเช่นนั้นเวลาให้ผู้รับเหมาเข้ามาทำต้องตรวจดูงานอะไรบ้าง ถึงจะทำให้คุณได้ผนังกั้นห้องใหม่ที่สวยถูกใจ เพราะหากได้ช่างไม่เก่งพอ คงได้ผนังบ้านที่น่าหนักใจขึ้นมาแทน จนอาจคิดว่าไม่น่ากั้นห้องเลย อย่ากระนั้นเลย admin มีคำแนะนำในการตรวจงานผนังเบาว่ามีขั้นตอนการดูอย่างไรบ้าง โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ครับ เลือกผนังเบาและตรวจของก่อนติดตั้ง การกั้นห้องต้องระบุกับผู้รับเหมาว่าต้องการกั้นห้องเพื่อใช้ทำเป็นห้องอะไร…
วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่ หรือ แบบเสาเข็ม
สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไรส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจแล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า”ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน…
ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์
ข้อดี – ข้อเสียของแต่ละประเภทเสาเข็มไมโครไพล์ ปัจจุบันการเลือกใช้งานเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยม และมีให้เลือกหลากหลาย เช่น เสาเข็มทรงสี่เหลี่ยม เสาเข็มรูปตัวไอ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ ซึ่งแต่ละประเภทต้องบอกก่อนว่ามีทั้งข้อดี ข้อเสียที่แตกต่าง ก่อนเลือกใช้เพื่อให้ตอบโจทย์ต่องานจึงควรศึกษาอย่างละเอียด ลดความเสี่ยงเกิดปัญหาตามมาได้ ข้อดี – ข้อเสียของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละประเภท ความโดดเด่นของเสาเข็มสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านนั้น “ไมโครไพล์” ได้รับไปแบบเต็ม…
ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด
ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) ที่ไม่ทำให้บ้านทรุด เสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างบ้าน ซึ่งปัจจุบันเสาเข็มไมโครไพล์กำลังเป็นที่นิยมใช้งาน ทว่าการสร้างบ้านด้วยเสาเข็มประเภทนี้ต้องมีการตอกด้วยความลึกที่เหมาะสม ไม่ทำให้ตัวเสาร้าว หรือเกิดปัญหาบ้านทรุดได้ แล้วความลึกของเสาควรต้องอยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือการศึกษาข้อมูลสร้างความเข้าใจให้ตัวเองอย่างลึกซึ้ง เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่มากดทับได้จากแรงกระทำหลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม หรือ End…
วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์
วิธีเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ เมื่อมีความสนใจอยากต่อเติม หรือสร้างบ้านด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกผู้ใช้บริการที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อให้การติดตั้งดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงไม่เป็นปัญหาในอนาคตที่อาจทำให้ปวดหัว ไม่สบายใจขึ้นมาได้ ดังนั้น จึงไม่อาจมองข้ามการศึกษาถึงวิธีเลือกผู้ให้บริการที่ตอบโจทย์อย่างละเอียด แนะนำการเลือกผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอบโจทย์ ต้องมีความน่าเชื่อถือ อย่างแรกที่ต้องมองเลยจริง ๆ ก็คือเรื่องของความน่าเชื่อถือ ที่ผู้ให้บริการเสาเข็มไมโครไพล์ควรต้องมีอย่างที่สุด แนะนำว่าต้องเป็นแหล่งที่เปิดให้บริการมายาวนาน มีรายละเอียดการจัดตั้งบริษัทชัดเจน สามารถเดินทางไปหาได้เลย หรือมีประวัติการจัดตั้งบริษัทให้เราได้ศึกษาด้วยก็ได้…