News

รวมบทความ เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องก่อสร้างที่

การทดสอบภาคสนามด้วยวิธี Standard Penetration Test (SPT)

การทดสอบภาคสนามด้วยวิธี Standard Penetration Test (SPT)

adminAug 29, 20214 min read

การทดสอบในสนามด้วยวิธี Standard Penetration Test (SPT)           การทดสอบด้วยวิธีนี้ได้พัฒนาขึ้นมาราวปี ค.ศ. 1927 ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีทดสอบที่นิยมใช้กันมากที่สุดและเป็นการทดสอบที่ประหยัดที่สุดที่จะได้ข้อมูลชั้นดินมาใช้ในการออกแบบ โดย Bowles (Bowles 1996) ประมาณไว้ว่า 85 – 90 เปอร์เซ็นต์ของการออกแบบฐานรากปกติในอเมริการเหนือและอเมริการใต้ใช้ข้อมูล SPT ในการออกแบบ การทดสอบจะอ้างอิงมาตรฐาน ASTM D 1586 โดยมีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้             ตอกกระบอกแบบผ่าซีกแบบมาตรฐาน ซึ่งมีขนาดดังรูปที่ 1 โดยให้ปลายกระบอกวางอยู่พอดีกับระดับก้นหลุมเจาะ โดยการตอกจะใช้ตุ้มตอกที่มีน้ำหนัก 140 ปอนด์ (63.5 กิโลกรัม) ในการตอกแต่ละครั้งจะยกตุ้มสูง 30 นิ้ว (762 มิลลิเมตร) ตกอย่างอิสระ ดังรูปที่ 2             ในการตอกจะตอกให้กระบอกจมลงในดินเป็นระยะ 18 นิ้ว โดยแบ่งระยะของกาตอกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 6 นิ้ว ค่า SPT, N จะเป็นจำนวนครั้งของการตอก 12 นิ้วสุดท้าย หน่วยของค่า SPT, N จะเป็นครั้งต่อฟุต (Blows/ft) ที่ไม่รวมเอาจำนวนครั้งของการตอก 6 นิ้วแรก เนื่องจากดินช่วงส่วนนี้จะถูกรบกวนอย่างมากจากกระบวนการเจาะดิน ในกรณีที่ตอกทดสอบแล้วตอกไม่ลงจะหยุดการทดสอบเมื่อ…

วิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก

วิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก

adminAug 27, 20211 min read

ในการสำรวจดินเพื่อการออกแบบฐานรากนั้นสามารถกระทำได้ทั้งการเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการทดสอบในสนาม ซึ่งรูปแบบการเจาะสำรวจดินแสดงดังรูปที่ 1 ข้อแตกต่างของการทดสอบทั้งสองวิธีนี้คือ วิธีการเก็บตัวอย่างจะต้องเจาะหรือขุดจนถึงระดับที่ต้องการเพื่อเก็บตัวอย่างขึ้นมา ส่วนการทดสอบในสนามนั้นไม่ต้องเก็บตัวอย่างขึ้นมาทดสอบ สำหรับรายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อต่อไป Continue reading

ตำแหน่งของหลุมเจาะและความลึกของหลุม

ตำแหน่งของหลุมเจาะและความลึกของหลุม

adminAug 27, 20211 min read

ในการเลือกตำแหน่งของหลุมเจาะ ถ้าชั้นดินไม่สม่ำเสมอนักอาจต้องทำการเจาะสำรวจให้ใกล้เคียงกับตำแหน่งของฐานรากมากที่สุด ถ้าในขณะที่จะทำการเจาะสำรวจยังไม่มีการวางตำแหน่งโครงสร้าง ตำแหน่งของหลุมเจาะควรจะครอบคลุมบริเวณทั้งหมด จำนวนหลุมเจาะที่จะต้องเจาะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่นความสม่ำเสมอของชั้นดิน ถ้าชั้นดินสม่ำเสมอการเจาะหลุมเจาะเพียงไม่กี่หลุมก็อาจเพียงพอแล้ว แต่ถ้าชั้นดินไม่มีความสม่ำเสมออาจจะต้องเจาะหลุมเจาะมากขึ้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเจาะเมื่อเปรีบยเทียบกับมูลค่าของโครงการ โครงการมูลค่าไม่สูงมากนัก ถ้าทำการเจาะสำรวจและทดสอบปริมาณน้อยแต่ใช้ Factor safety สูงขึ้นก็อาจประหยัดกว่า แต่ถ้าเป็นโครงการที่มีมูลค่าโครงการสูงการเจาะสำรวจและทดสอบมากขึ้นจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ราคาของฐานรากลดลงอย่างมาก สำหรับโครงการทั่วๆ ไปในชั้นดินที่ไม่ซับซ้อนและพอจะทราบข้อมูลชั้นดินมาบ้างจะเจาะหลุมเจาะประมาณ 2 หลุม ถ้าเป็นไปได้ควรจะเจาะ 3 หลุม เพื่อแสดงรูปตัดชั้นดินได้ทั้งสองแนว Continue reading

เจาะสำรวจดิน

วัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจดิน

adminAug 27, 20211 min read

ในงานวิศวกรรมปฐพีสิ่งที่จำเป็นประการหนึ่งก็คือการเจาะสำรวจดิน วัตถุประสงค์ในการเจาะสำรวจดินนั้นเพื่อใช้เป็นข้อมูล เพื่อใช้เลือกชนิดของฐานราก เพื่อใช้หากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของฐานรากที่เลือกใช้ เพื่อประมาณค่าการทรุดตัวของฐานรากที่เลือกใช้ เพื่อหาค่าระดับน้ำใต้ดิน เพื่อหาแรงดันดินด้านข้างที่กระทำต่อกำแพง หรือ Abutment ใช้ช่วยเขียนข้อกำหนดในการก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้หาชนิดของดินที่เหมาะสมในงานถม และหา Degree of compaction เพื่อประเมินค่าความปลอดภัยของโครงสร้างเดิม เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไข ในกรณีที่โครงสร้างไม่มีความปลอดภัย หรืออาจมีปัญหาเนื่องจากการทรุดตัว Continue reading

ชั้นดิน

การสำรวจและทดสอบดินในงานวิศวกรรมฐานราก

adminAug 26, 20211 min read

มนุษย์รู้จักสำรวจดินเพื่อทำฐานรากของโครงสร้างมานานแล้ว ในอดีตมักจะใช้ลองโดยไม่มีมาตรฐานระบุอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ในหนังสือที่เขียนโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2234 (ค.ศ. 1691) ได้อธิบายวิธีการสำรวจดินเพื่อใช้ก่อสร้างฐานรากไว้ดังนี้ “ให้ลองเจาะหลุมหลายๆ หลุมเพื่อหาชั้นดินที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าดินที่มีคุณภาพดีนี้ไม่ได้วางอยู่บนดินเหนียว ดินทราย หรือดินใดๆ ที่จะยุบตัวลงเมื่อมีแรงกดกระทำ ในกรณีที่เจาะหลุมเพื่อดูดินไม่ได้ ก็ให้ใช้ไม้ยาว 6 – 8 ฟุต เคาะพื้นดิน ถ้าเสียงนั้นแน่นและเบาแสดงว่าดินแน่น ดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดได้ดี แต่ถ้าเสียงที่ได้ เป็นเสียงทึบดินจะมีกำลังต้านทานแรงกดไม่ดีจึงไม่ควรใช้วางฐานราก” Continue reading

Scroll to top