Site icon บจก.ณรงค์ไมโครสปัน | ไมโครไพล์ | micropile แบบครบวงจร

ประวัติศาสตร์งานฐานรากในประเทศไทย

พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร

อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว

จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ

                               พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในสมัยรัชกาลที่ 4

     คนไทยนั้นได้รู้จักกับฐานรากกันมาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยเป็นประจำ จนหม่อมเจ้าอิศรญาณในสมัยรัชกาลที่ 4 สามารถนำมาประพันธ์เป็นสุภาษิตได้ ดังนั้นผู้คนทั่วไปในยุคสมัยนั้นสามารถเข้าใจได้ไม่ยากว่า เสาหินที่ยาวแปดศอก (4 เมตร) นั้นถ้าถูกผลัก (มีแรงกระทำทางด้านข้าง) สลับด้านกันหลายๆ ครัง เสาจะเกิดการโยกคลอน (มีแรงด้านทานลดลง) และอีประการหนึ่งที่สามารถคาดเดาได้จากสุภาษิตนี้คือ ดินในบริเวณนั้นเป็นดินที่มีกำลังด้านทานต่อแรงกระทำต่ำ

     สำหรับกรณีศึกษาของฐานรากของไทยในอดีตได้จากเอกสารของ (สันติ 2547) ซึ่งได้ศึกษาชนิดของฐานรากของโบราณสถานในประเทศไทย แบ่งเป็นช่วงได้ดังนี้

พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

ได้แก่ฐานรากขององค์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร เป็นฐานรากแผ่ที่รองรับไว้ด้วยไม้ซึ่งมีลักษณะเหมือนเสาเข็ม และเป็นที่นิยมกันแพร่หลายเนื่องจากชั้นดินเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งเป็นดินอ่อน

ป้อมวิเชียรโชฏก จ.สมุทรปราการ (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

ป้อมวิเชียรโชฏก จ.สมุทรปราการ ได้มีการใช้เสาเข็มไม้ขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร ตอกลึกประมาณ 1 เมตร เป็นฐานรากของป้อม เนื่องจากดินบริเวณชายฝั่งทะเลเป็นดินที่ค่อนข้างอ่อนมาก

วังหน้า (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการสร้างวังหน้าทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาโดยใช้เสาเข็มไม้ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ยาว 1.4 เมตร ตอกห่างกันประมาณ 0.3 เมตร และอัดเศษปูน หิน กระทุ้งแน่นแล้วก่อสร้างอาคารส่วนบน

ป้อมพระสุเมรุ (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

การสร้างป้อมพระสุเมรุ ได้มีการตอกเข็มไม้หลายขนาดเพื่อเป็นฐานรากของป้อม เพื่อเป็นเข็มพืดป้องกันดินไหลออก และมีการใช้โอ่งดินเปล่าสูง 55 เซนติเมตร วางเลื่อมลึกลงในดิน 7 ใบ เพื่อลดน้ำหนักกดของดิน

ภูเขาทองวัดสระเกศ (ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

     ภูเขาทองวัดสระเกศ ทำการสร้างฐานรากโดยขุดดินลงไปถึงชั้นดินอ่อนมาก แล้วหลักแพทั้งต้นเป็นเข็มห่มลงไปจนเต็มแล้วเอาแล้วเอาไม้ซุงทำเป็นเข็ม ปูเป็นตารางแล้วก่อศิลาแลงขึ้นมาเกือบเสมอดิน

     ในอดีตการก่อสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มมักจะกระทำตามประสบการณ์ที่ช่างก่อสร้างได้รับมา โดยอาจจะใช้วิธีลองผิดลองถูก แต่ในปัจจุบันการออกแบบฐานรากจะใช้วิธีการคำนวณกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มจากผลการเจาะสำรวจ หรื่อทำการก่อสร้างเสาเข็มจริงและทดสอบ ซึ่งไม่ต้องใช้วิธีลองผิดลองถูกเหมือนในอดีต

อ้างอิง

หนังสือวิศวกรรมฐานราก

โดยพรพจน์ ตันเส็ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

#micropile #ไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์

ประวัติศาสตร์งานฐานรากในประเทศไทย
Exit mobile version